บทความเรื่อง TSITDP ของผู้เขียน มีจำหน่ายแล้ว
สืบเนื่องจากการเสนอบทความเรื่อง Telling Sexual Identity through Dramatic Performance: A Look on a Male Homosexual Character in the Contemporary Thai Play, “From Sauna ’09” ของผู้เขียน ในงาน 7th International Conference on New Directions in the Humanities ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ขณะนี้บทความเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “อัตลักษณ์ชายรักชาย: การเปรียบเทียบตัวละครชายรักชายในอัตชีวประวัติและบทละครไทยร่วมสมัย” (MALE HOMOSEXUAL IDENTITY: A COMPARATIVE STUDY OF MALE HOMOSEXUAL CHARACTERS IN CONTEMPORARY THAI AUTOBIOGRAPHY AND DRAMA) ได้รับการตีพิมพ์ใน The International of the Humanities - Volume 7, Issue 7 และมีจำหน่ายแล้วทั้งในรูปแบบเอกสารอิเลคทรอนิคส์และเอกสารที่จัดพิมพ์ลงกระดาษ
ขอเชิญท่านผู้สนใจชมเนื้อหาในบทคัดย่อ และสั่งซื้อตามราคาจำหน่ายซึ่งระบุไว้ที่ http://ijh.cgpublisher.com/product/pub.26/prod.1650
ผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
และขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้กรุณาให้ความรู้ พร้อมทั้งคำวิจารณ์ชี้แนะข้อปรับปรุงแก้ไขบทความดังกล่าว
ขอบคุณ พี่หนุ่ม – อาจารย์อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ ผู้กรุณาให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษในขั้นฉบับร่าง และ พี่นุ้ย – อาจารย์กฤตยา อกนิษฐ์ ผู้กรุณาให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษในขั้นการตีพิมพ์
รวมทั้งขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จาตุรี ติงศภัทิย์, อาจารย์ ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ผู้กรุณาให้คำแนะนำสอบถามและให้กำลังใจในการเสนอผลงานนี้
และขอขอบคุณรวมไปถึง พี่แน็ต – ศศิกาญจน์ เอี่ยมพรชัย, พี่โอ๋ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรินทร์ ใจเที่ยง, ครูจิ๋ม – อาจารย์สุธิดา กัลยาณรุจ และครูติ๋ม – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ฟูราช ผู้กรุณาให้การสนับสนุนเรื่องการทำงานและการเรียนรู้อันส่งผลถึงการสร้างสรรค์ผลงานนี้
และที่สำคัญ ขอขอบคุณ ก.ย.ศ.ส. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาส่วนตัว) ของผู้เขียน อันได้แก่แม่และน้องทั้งสอง ที่สนับสนุนและให้ทุนกู้ยืมเพื่อการลงทะเบียนและการเดินทางไปเสนอบทความดังกล่าว
เมื่อพูดถึงน้องในโอกาสนี้ ผู้เขียนขอชมทั้งคู่ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบ้านอันเป็นภาระหนักเป็นอย่างดีร่วมกับแม่ และร่วมเป็น ก.ย.ศ.ส. ให้ผู้เขียน ผู้เขียนพิจารณาว่าน้องทั้งสองเป็นผู้ประสพความสำเร็จในการดำรงชีวิต ทั้งคู่เป็นเจ้าของกิจการของตัวเองที่พัฒนาจนอยู่ได้ ทั้งคู่เคยมีผลการเรียนในขั้นปานกลางถึงเกือบตกมาโดยตลอด คนหนึ่งเคยหนีโรงเรียนไปเที่ยวกับเพื่อนบ่อยๆ และสอบเอนทรานซ์ไม่ติดในปีแรก และตั้งกิจการระดับกะทัดรัดได้ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากเรียนจบ ป.ตรี โดยประยุกต์ความรู้ที่เรียนพร้อมทั้งความชอบโดยส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ส่วนอีกคนหนึ่งโดนรีไทร์จากมหาวิทยาลัยเอกชน เนื่องจากเลือกเรียนวิชาด้านคณิตศาสตร์ที่ยากเกินตัวและทำเกรดไม่ถึงเกณฑ์ และแม่ไม่มีเงินค่าเทอมให้ถลุงต่อ น้องคนนี้จึงมีคุณวุฒิ ปวส. ซี่งได้รับมาก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเขาทำงานอย่างต่อเนื่องก็ตั้งกิจการของตัวเองได้ โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์จากงานที่ทำ โดยกิจการของเขามีข่ายการทำธุรกิจกับต่างประเทศ ทั้งที่เขาไม่ชำนาญเรื่องภาษาอังกฤษ
ผู้เขียนดีใจมากที่น้องทั้งสองฟื้นฐานะของตนเองได้ดี เมื่อนึกเทียบไปถึงสภาพฐานะเดิมในวัยเด็กที่เคยมีความมั่นคงมากทางด้านที่อยู่อาศัย โดยช่วงนั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงเพียงเรื่องการศึกษาและการหาเลี้ยงชีพตามขีดขั้นที่แต่ละคนปรารถนา และอาจสร้างกิจการที่บ้านได้เลยทันที แต่ความมั่นคงทุกอย่างก็หายไปอย่างตั้งรับไม่ทัน ในยามนี้ผู้เขียนจึงรู้สึกสบายใจที่การฟื้นสถานะของน้องทั้งคู่เป็นไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ต้องพบกับข้อจำกัดทางเศรษฐกิจในวันข้างหน้า ผู้เขียนดีใจที่ได้ชมทั้งคู่ให้คนอื่นๆ รับรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้ทำโดยตรงกับตัวพวกเขา ทั้งที่ควรจะทำมากกว่าที่เป็นมาในอดีต
ขณะนี้บทความเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “อัตลักษณ์ชายรักชาย: การเปรียบเทียบตัวละครชายรักชายในอัตชีวประวัติและบทละครไทยร่วมสมัย” (MALE HOMOSEXUAL IDENTITY: A COMPARATIVE STUDY OF MALE HOMOSEXUAL CHARACTERS IN CONTEMPORARY THAI AUTOBIOGRAPHY AND DRAMA) ได้รับการตีพิมพ์ใน The International of the Humanities - Volume 7, Issue 7 และมีจำหน่ายแล้วทั้งในรูปแบบเอกสารอิเลคทรอนิคส์และเอกสารที่จัดพิมพ์ลงกระดาษ
ขอเชิญท่านผู้สนใจชมเนื้อหาในบทคัดย่อ และสั่งซื้อตามราคาจำหน่ายซึ่งระบุไว้ที่ http://ijh.cgpublisher.com/product/pub.26/prod.1650
ผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
และขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้กรุณาให้ความรู้ พร้อมทั้งคำวิจารณ์ชี้แนะข้อปรับปรุงแก้ไขบทความดังกล่าว
ขอบคุณ พี่หนุ่ม – อาจารย์อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ ผู้กรุณาให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษในขั้นฉบับร่าง และ พี่นุ้ย – อาจารย์กฤตยา อกนิษฐ์ ผู้กรุณาให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษในขั้นการตีพิมพ์
รวมทั้งขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จาตุรี ติงศภัทิย์, อาจารย์ ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ผู้กรุณาให้คำแนะนำสอบถามและให้กำลังใจในการเสนอผลงานนี้
และขอขอบคุณรวมไปถึง พี่แน็ต – ศศิกาญจน์ เอี่ยมพรชัย, พี่โอ๋ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรินทร์ ใจเที่ยง, ครูจิ๋ม – อาจารย์สุธิดา กัลยาณรุจ และครูติ๋ม – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ฟูราช ผู้กรุณาให้การสนับสนุนเรื่องการทำงานและการเรียนรู้อันส่งผลถึงการสร้างสรรค์ผลงานนี้
และที่สำคัญ ขอขอบคุณ ก.ย.ศ.ส. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาส่วนตัว) ของผู้เขียน อันได้แก่แม่และน้องทั้งสอง ที่สนับสนุนและให้ทุนกู้ยืมเพื่อการลงทะเบียนและการเดินทางไปเสนอบทความดังกล่าว
เมื่อพูดถึงน้องในโอกาสนี้ ผู้เขียนขอชมทั้งคู่ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบ้านอันเป็นภาระหนักเป็นอย่างดีร่วมกับแม่ และร่วมเป็น ก.ย.ศ.ส. ให้ผู้เขียน ผู้เขียนพิจารณาว่าน้องทั้งสองเป็นผู้ประสพความสำเร็จในการดำรงชีวิต ทั้งคู่เป็นเจ้าของกิจการของตัวเองที่พัฒนาจนอยู่ได้ ทั้งคู่เคยมีผลการเรียนในขั้นปานกลางถึงเกือบตกมาโดยตลอด คนหนึ่งเคยหนีโรงเรียนไปเที่ยวกับเพื่อนบ่อยๆ และสอบเอนทรานซ์ไม่ติดในปีแรก และตั้งกิจการระดับกะทัดรัดได้ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากเรียนจบ ป.ตรี โดยประยุกต์ความรู้ที่เรียนพร้อมทั้งความชอบโดยส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ส่วนอีกคนหนึ่งโดนรีไทร์จากมหาวิทยาลัยเอกชน เนื่องจากเลือกเรียนวิชาด้านคณิตศาสตร์ที่ยากเกินตัวและทำเกรดไม่ถึงเกณฑ์ และแม่ไม่มีเงินค่าเทอมให้ถลุงต่อ น้องคนนี้จึงมีคุณวุฒิ ปวส. ซี่งได้รับมาก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเขาทำงานอย่างต่อเนื่องก็ตั้งกิจการของตัวเองได้ โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์จากงานที่ทำ โดยกิจการของเขามีข่ายการทำธุรกิจกับต่างประเทศ ทั้งที่เขาไม่ชำนาญเรื่องภาษาอังกฤษ
ผู้เขียนดีใจมากที่น้องทั้งสองฟื้นฐานะของตนเองได้ดี เมื่อนึกเทียบไปถึงสภาพฐานะเดิมในวัยเด็กที่เคยมีความมั่นคงมากทางด้านที่อยู่อาศัย โดยช่วงนั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงเพียงเรื่องการศึกษาและการหาเลี้ยงชีพตามขีดขั้นที่แต่ละคนปรารถนา และอาจสร้างกิจการที่บ้านได้เลยทันที แต่ความมั่นคงทุกอย่างก็หายไปอย่างตั้งรับไม่ทัน ในยามนี้ผู้เขียนจึงรู้สึกสบายใจที่การฟื้นสถานะของน้องทั้งคู่เป็นไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ต้องพบกับข้อจำกัดทางเศรษฐกิจในวันข้างหน้า ผู้เขียนดีใจที่ได้ชมทั้งคู่ให้คนอื่นๆ รับรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้ทำโดยตรงกับตัวพวกเขา ทั้งที่ควรจะทำมากกว่าที่เป็นมาในอดีต
0 Comments:
Post a Comment
<< Home