Friday, May 22, 2009

ขออภัยสำหรับการประกาศรายชื่อฯ ครั้งที่ ๖ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑

รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง
สนับสนุนโดย หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากร และศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื่องจากผู้เขียนติดภาระเรื่องการเรียนในช่วงเวลานี้ จึงไม่อาจดำเนินการประกาศรายชื่อนักแสดงและทีมนักแสดงดีเด่น และนักแสดงผู้ได้รับเกียรติคุณสดุดี รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ ภายในเดือนพฤษภาคมนี้

จึงขอเลื่อนเวลาการประกาศรายชื่อฯ พร้อมทั้งงาน “คิดถึงชูศรี” ไปในราวเดือนตุลาคม ศกนี้

ขออภัยผู้ชมทุกท่านอย่างยิ่ง รวมทั้งขอขอบคุณที่ท่านติดตามและให้กำลังใจรางวัลนี้โดยตลอดมา และขอขอบคุณมูลนิธิหนังไทย www.thaifilm.com , นิตยสารสตาร์พิคส์, www.deknang.com , รายการวิทยุแซทแอนด์ซัน www.satnsun.com , รายการวิทยุดูหนัง-ฟังเพลง, นิตยสารไบโอสโคป, นิตยสารเอนเตอร์เทน และทุกสื่อที่กรุณาให้การสนับสนุน

Saturday, May 09, 2009

ประวัติโดยย่อของครูมัท

เพื่อการสดุดีและคารวะครูมัท ในโอกาสอายุครบ ๖ รอบ จึงนำประวัติโดยย่อของท่าน ซึ่งคัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ซึ่งจัดพิมพ์เป็นพิเศษในโอกาสดังกล่าว มาร่วมบันทึกไว้ ณ ที่นี้

มัทนี (โมชดารา) รัตนิน

ชื่อเล่น – แดง
วันเกิด – ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๐
การศึกษา
- ชั้นอนุบาล, ประถม, มัธยม โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สำเร็จสาขาศิลป์ (อักษร) พ.ศ. ๒๔๙๘

- ระดับอุดมศึกษา สอบเข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นสอบชิงทุนรัฐบาล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปศึกษาต่อภาษาต่างประเทศ ที่ประเทศอังกฤษ แต่ขอย้ายไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกา ณ Wellesley College วิชาเอกภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส วิชาโท ศิลปะและวรรณคดีภาษาอังกฤษอเมริกัน และวรรณกรรมการละคอนบางวิชา ในช่วงฤดูร้อนศึกษาภาษาและประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเพิ่มเติมที่ University of Southern California และ Middlebury School of French

เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ศึกษาปริญญาโทต่อที่ Middlebury Graduate School of French โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง La Paternité Chez le pere Goriot de Balzac ได้รับปริญญา Master of Arts เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๐๔

เมื่อจบปริญญาโทแล้วได้รับทุนของ British Council ๓ ทุน คือ ทุนศึกษาเกี่ยวกับศิลปะและวรรณกรรมการละคอนของ Shakespeare ที่เมือง Stratford-upon-Avon ประเทศอังกฤษ ทุนศึกษาวิชาการแสดงและการกำกับการแสดง ณ The Royal Academy of Dramatic Arts และทุนศึกษาวิชาการผลิตงานโทรทัศน์ ซึ่งรวมถึงการเขียนบท การกำกับ แสง เสียง การตัดต่อ จาก British Brodcasting Corporation B.B.C. และ The Royal Television Society ประเทศอังกฤษ

ในช่วงที่ได้รับทุนดังกล่าวข้างต้น เป็นช่วงที่เริ่มรับราชการ ตำแหน่งอาจารย์โท ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๕ ในระยะต่อมาไปศึกษาระดับปริญญาเอก ณ School of Oriental and African Studies (S.O.A.S) มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยได้รับทุนจาก Rockefeller Foundation และทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Modernization of Thai Dance-Drama, with Special Reference to the Reign of King Chulalongkorn ได้รับปริญญา Doctor of Philosophy เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๒๑

หลังจบปริญญาเอก ครูมัทเพิ่มพูนความรู้ในสถานศึกษาหลายแห่ง อาทิ ทุนจาก The American Council of Learned Societies ไปศึกษาในฐานะ Research Fellow ณ School of Drama, Yale University โดยทำงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมบทละคอนของนักการละคอนชาวอเมริกันเช่น Tennessee Williams, Eugene O’Neill, Edward Albee, Arthur Miller

ครูมัทเป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรสาขาวิชาการละคอนขึ้นในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ จากเดิมที่เป็นแผนกการละคอน โดยนับเป็นมหาวิทยาลัยที่ ๒ ของประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ และเป็นผู้วางรากฐานในการก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ.

ครูมัทเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ล่าสุดครูได้รับรางวัล สุรินทราชา จากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๑ ขณะนี้มีผลงานเขียน งานแปลและดัดแปลง ซึ่งครูมัททำในช่วงหลังเกษียณรอการจัดพิมพ์เผยแพร่

ถ้อยคำครูมัท ในโอกาสอายุครบ ๖ รอบ

คัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ในโอกาสที่ครูมัทอายุครบ ๖ รอบ เพื่อทุกท่านที่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานและไม่ได้รับหนังสือนี้

“วันที่ ๓ พฤษภาคม บรรดาลูกศิษย์หลายสมัย เขาจัดให้เป็นวันแซยิด ๗๒ ปี (หกรอบ) ของดิฉัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่วันเกิด เพราะดิฉันเกิดวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ แต่วันที่ ๓ พฤษภาคมก็สะดวกดี เพราะใครๆ ที่ชอบพอ ก็สามารถมาชุมนุมกันในวันนี้

ชีวิตคนเรามีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราจะหวังว่าจะมีสุขตลอดก็คงไม่ได้ แล้วก็ไม่สนุก เหมือนกินแต่ของหวาน กินมากๆ เข้า ก็เลี่ยน มีทุกข์บ้าง ขมบ้าง เปรี้ยวบ้าง ก็ ‘อร่อย’ ดี เหมือนส้มตำ

ทั้งนี้ ทั้งนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นความรัก การเรียน การทำงาน การสมรส การมีบุตรมีลูกมีหลาน ประการแรก เราต้องมีความมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้ และอดทน พยายามจนถึงที่สุด ถ้าทำได้ดังนี้ ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้

สิ่งสำคัญ คือ ทำอะไรคนเดียวมักไม่ค่อยดี มากคนก็ไม่ดีอีก ที่ดีที่สุดคือ มีผู้ช่วยบ้าง แต่ควรจะเป็นผู้ที่เป็นคนดี มีน้ำใจ สิ่งสำคัญ คือ เราเองต้องรักเขา ไว้ใจเขา และรับผิดชอบทุกอย่าง อย่ากลัวลำบาก ความลำบากเป็นสิ่งมีค่า อะไรที่ได้มาง่ายๆ มักไม่ค่อยมีค่า มีคติหนึ่งสอนว่า ‘Expect the worst and hope for the best.’ เช่นนี้ แม้แต่มดก็แบกช้างได้”

มัทนี รัตนิน.
เอกมัย.
21 เมษายน 2552

“ครูมัทกับการเป็นนักแสดง” เขียนโดย ครูติ๋ม

คัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ในโอกาสที่ครูมัทอายุครบ ๖ รอบ เพื่อทุกท่านที่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานและไม่ได้รับหนังสือนี้ และเพื่อการสดุดีและคารวะครูมัท

“ครูมัทกับการเป็นนักแสดง”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ฟูราช (ครูติ๋ม)

ผู้กำกับละคอนมักอยากได้นักแสดงประเภทอุดมคติ หรือ ideal ที่ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการแสดงเท่านั้น แต่จะต้องเป็นคนที่รอบรู้และเข้าใจในบทบาทของตน รวมทั้งเคารพความคิดเห็นของคนอื่น เป็นคนตรงต่อเวลา ไม่เกี่ยงงอนเรื่องความสำคัญของบท ไม่ว่าจะเป็นบทนำหรือบทรอง เข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมของการแสดง และไม่เอาเป้าหมายส่วนตัวมายึดเป็นสรณะ ทุ่มเททำงานเพื่อทีม เพื่อความสำเร็จของการแสดงโดยเฉพาะ

เราจะหานักแสดงที่เก่งและรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ที่ไหน...จะมีผู้กำกับคนใดบ้างที่โชคดีได้นักแสดงเช่นนี้มาแสดงด้วย

ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะเขียนถึงอาจารย์มัทนี รัตนิน ในบทบาทที่น้อยคนจะได้รู้จัก นั่นคือ ในบทบาทของนักแสดง ครูมัทเป็นนักแสดงที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนไม่เคยลืมเลยว่า ครั้งหนึ่งนั้นครูมัทได้ให้เกียรติ มาแสดงในละคอนเรื่อง “เมื่อหัวใจจะรัก” ตำนานของไซคี-วีนัส ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นและกำกับการแสดง ต่อไปนี้เป็นเรื่องราว “หลังฉาก” ที่น้อยคนจะได้รับรู้

เมื่อผู้เขียนเริ่มลงมือวิเคราะห์บทไซคี-วีนัส และวางแผนที่จะสร้างละคอนเรื่องนี้ขึ้นมา โดยมุ่งให้เป็นละคอนที่มีรูปแบบแฟนตาซีทั้งในเนื้อหาและการนำเสนอ โดยอาศัยเทคนิค แสง สี เสียง ฉาก เครื่องแต่งกาย เพื่อเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ละคอนดั้งเดิมให้เป็นละคอนร่วมสมัย ครูมัทบอกกับผู้เขียนสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “ไอ้ติ๋ม...เรื่องนี้ครูจะแสดงด้วย บทอะไรก็ได้”

ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ประโยคเดียวนี้ทำให้ผู้เขียนต้องคิดหนัก ว่าจะหาบทอะไรที่เหมาะสมกับบุคคลระดับปรมาจารย์ทางละคอนอย่างอาจารย์มัทนี แต่ดูท่าทีและความจริงใจที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงของครูมัทแล้ว ผู้เขียนก็หมดความกังวลใจ และมอบบทนายทวารเฝ้าประตูสู่ยมโลกให้กับครูมัท ผู้ยอมรับบทนี้โดยไม่คัดค้านหรือมีปฏิกิริยาใดๆ เลย ทุกครั้งที่มีการซ้อม ครูมัทจะรอคิวซ้อมอย่างใจเย็น ไม่เคยสร้างความหนักใจให้กับใคร ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่มาร่วมแสดงหรือนักแสดงระดับดารารับเชิญก็ยังรู้สึกสบายใจ และสนุกที่มีครูมัทเข้ามาร่วมทีมด้วย

เมื่อถึงวันแสดง ครูมัทจะมาก่อนเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมงเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมและมาแต่งหน้าด้วยตนเองอย่างพิถีพิถันให้เข้ากับเครื่องแต่งกายและบทบาทที่จะแสดง ในเรื่องนี้ครูมัทปรากฏตัวในการแสดงเพียงไม่ถึงห้านาที แต่ก็ใช้เวลาเตรียมตัวอย่างเต็มที่ และอยู่กับการแสดงจนจบทุกรอบ แม้ว่าในบทที่แสดงนั้น ครูมัทจะไม่มีบทพูดเลย แต่ทุกรอบผู้ชมจะได้ยินเสียงอันทรงพลังของครูมัทร้องโหยหวนขอบคุณสปอนเซอร์ทุกรายที่ให้การสนับสนุนอยู่เป็นช่วงๆ นักศึกษาที่แสดงเป็นไซคี ไม่รู้ว่าจะต้องแสดงร่วมกับครูมัท เมื่อไซคีเดินผ่านประตูยมโลก นักศึกษาผู้นี้ก็ต้องเผชิญหน้ากับนายทวาร และเมื่อเห็นว่าเป็นครูมัท ไซคีก็ตกใจกลัวเสียยิ่งกว่าเจอนายทวารตัวจริงเสียอีก ยืนตัวสั่นงันงก ถูกครูมัทลากตัวเข้ายมโลกไปด้วยความกลัวอย่างสมบทบาทยิ่งนัก

เครื่องแต่งกายของครูมัทนั้นจะต้องมีเครื่องประดับที่ศีรษะมากมาย และค่อนข้างหนัก เรามีการแสดง ๕ รอบ เมื่อแสดงจบรอบแรก ก็เห็นว่าครูต้องทนทุกข์กับการแบกเครื่องประดับบนหัวที่หนัก และเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่าม รุงรัง แถมยังต้องยืนอยู่บนก้อนหินแคบๆ อย่างลำบากลำบน ครูไม่ได้บ่นอะไร ขอแต่เพียงว่าให้เอาเครื่องประดับออกไปบ้าง และจัดเครื่องแต่งกายให้กระชับรูปร่างมากขึ้น เมื่อไร้พันธนาการ ปรมาจารย์ก็แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ เราไม่เคยเห็นนายทวารที่จริงจังและน่ากลัวอย่างนี้มาก่อน

บทเรียนที่ผู้เขียนได้รับจากการกำกับครูมัทในครั้งนี้ ก็คือความเข้าใจในบทบาท และการแสดงของครูมัทเป็นตัวอย่างที่ดีของนักแสดง ครูทำให้เราเข้าใจว่า นักแสดงที่ดีจะต้องเน้นรายละเอียดในทุกอย่าง ครูแสดงให้เห็นว่านักแสดงที่ดีจะต้องมีวินัย มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าบทบาทของตนจะมากหรือน้อย จะโดดเด่นหรือเป็นเพียงตัวประกอบเล็กๆ ก็ตาม ครูมัทสอนให้พวกเราใส่ใจในทุกอย่างเกี่ยวกับการละคอน โดยผ่านทั้งคำบรรยายและการกระทำ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นนักวิชาการละคอนที่มีชื่อ ผู้กำกับ ผู้เขียนบท ผู้วิเคราะห์บทอย่างครูมัท มารับบทแสดงเล็กๆ แต่ให้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่คนละคอนอย่างพวกเราควรยึดถือตลอดไป

รักครูมัท...ครูติ๋ม

“ครูมัทกับการพัฒนา” เขียนโดย ครูโอ๋ / พี่โอ๋

คัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ในโอกาสที่ครูมัทอายุครบ ๖ รอบ เพื่อทุกท่านที่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานและไม่ได้รับหนังสือนี้ และเพื่อการสดุดีและคารวะครูมัท

“ครูมัทกับการพัฒนา”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรินทร์ ใจเที่ยง (๒๙๐๖๖๑๓๑๗๕)

อาจจะมีไม่มากคนนักที่ทราบว่านอกจากงานสอน งานวิชาการ งานละคอน งานอดิเรก และอีกสารพัดงานที่ครูมัททุ่มเทกำลังกายให้แล้ว ก็ยังมีงานเชิงพัฒนาหรือรณรงค์ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการขายลูกสาว หรือ “ตกเขียว” ประเด็นผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวี จนกระทั่งมาถึงงานพัฒนาเพื่อผู้หญิงที่ครูมัทให้ความสนใจแบบจริงจัง...

เรื่องมันน่าจะเริ่มมาจากการที่ครูหาพื้นที่ให้พวกเรา นักศึกษาเอกการละคอนรุ่นแรก รหัส ๒๙ ได้ไปฝึกปรือวิชาละคอนเพื่อการศึกษากับน้องๆ ชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพระเจ้าทองทิพย์ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แล้วครูก็ไปพบว่าบรรดาผู้หญิงที่ในหมู่บ้านแถวนั้น รวมถึงนักเรียนหญิงที่จบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วไม่มีเงินจะเรียนต่อ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างใช้แรงงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง ซึ่งแต่ละวันก็จะมีรถกระบะมารับไปทำงานก่อสร้างตามที่ต่างๆ ต้องนำอาหารไปรับประทานเองหรือไม่ก็ซื้อเอาข้างหน้า และต้องจ่ายค่ารถในแต่ละวัน เมื่อหักลบแล้วก็เหลือรายได้ไม่มากนัก ครูจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือแรงงานหญิงเหล่านั้น โดยสร้างงานขึ้นในพื้นที่ เท่าที่ฉันพอจะจำได้ก็คือ ประมาณปี ๒๕๓๒ ครูจัดตั้งโครงการที่มีชื่อว่า “นพจักร” ซึ่งมีจุดประสงค์จะพัฒนาช่วยเหลือสังคม แล้วครูก็วุ่นอยู่กับการหาทุนมาทำโครงการ จนในที่สุด ครูก็ได้ทุนจากรัฐบาลแคนาดา เพื่อไปทำโครงการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานหญิงที่ว่านี้...

ครูเลือกที่จะใช้งานกระดาษสาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงาน ฉันคิดว่าครูต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจและอดทนมากทีเดียวที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ ครูขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น คณะครูที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่ รุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ และเพื่อนคริสเตียนของครูที่เชียงใหม่ รวมถึงผู้คนอีกมากมายที่เข้ามาในช่วง “ลองผิดลองถูก” และ “ล้มลุกคลุกคลาน” ของโครงการฯ

ชะรอยครูคงจะเห็นว่า เมื่อครั้งที่ไปฝึกปฏิบัติการกับน้องๆ ที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์เป็นเวลา ๑๐ วัน ฉันดูกรี้ดกร้าดไฮเปอร์เข้ากับน้องๆ ได้ แสดงอาการ(เหมือนจะ)รักเด็กได้แนบเนียน และทำหน้าตาเป็นคนที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านซะเอง รวมถึงร้องห่มร้องไห้เป็นที่น่าเวทนาเมื่อต้องจากลากับน้องๆ ครูมัทจึงชักชวนฉันไปทำงานในโครงการที่หมู่บ้าน โดยมีน้องๆ เป็นเหยื่อล่อ..ซึ่งก็สำเร็จ..ก็ครูบอกว่าจะให้ไปทำงานกับน้องๆ ที่โรงเรียนนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้หรอกว่างานอะไร...แต่ในเมื่อรับปากแล้วว่า “ไปค่ะครู”... ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาคำพูดนั้น..เฮ้อ..

กรกฎาคม ๒๕๓๓ ครูมัท ครูวันดี และน้องๆ ละคอนโขยงหนึ่งขึ้นไปส่งฉันที่ จ.เชียงใหม่ ครูให้ฉันไปฝึกการทำกระดาษสากับรุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ ของครู ที่ต้นตองรีสอร์ทดอยแม่สา และระหว่างนั้นครูก็เตรียมบุคลากร (คนเดียวของโครงการ คือ ฉัน) โดยส่งไปเรียนไปฝึกสารพัดวิชาตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ศิลปาชีพ วังสวนจิตรฯ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ คณะวิจิตรศิลป์ มช.

กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เริ่มการก่อสร้างโรงฝึกทำกระดาษสาที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ และจัดตั้ง “กลุ่มสตรีผลิตกระดาษสา อ.สันป่าตอง” มีสมาชิกแรกเริ่ม ล้มลุกคลุกคลานอยู่ประมาณ ๗-๘ คน

ต้นปี ๒๕๓๕ ครูขอให้พี่เบน หรือ เบน สวัสดิวัฒน์ ทอมสัน เข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการฯ และรับเจ้าหน้าที่เพิ่มอีก ๑ คน ทีนี้เราก็เลยเป็นกลุ่มเอ็นจีโอกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานด้านพัฒนากับกลุ่มสตรีอย่างเต็มตัว ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ออกแบบงานผลิตภัณฑ์ (ที่ต้องขายได้) และฝึกอบรมให้กับสมาชิกในโครงการ ส่วนพี่อีกคนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานพัฒนาและวิชาการ

ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๓๘ โครงการฯ ขยายตัวออกไปหลายหมู่บ้าน เราพาสมาชิกไปออกร้านตามที่ต่างๆ มีลูกค้าออเดอร์สินค้าของโครงการไปขายในที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บรรดาผู้หญิงที่เข้ามาทำงานกับโครงการ ไม่ไปทำงานก่อสร้างอีกต่อไป หากแต่ได้ทำงานอยู่กับบ้าน ได้ดูแลลูกและสามีเต็มที่ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน ต่อมาเมื่อสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่มีสูงมาก โครงการฯ จึงขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปถึงผู้หญิงบริการและผู้ติดเชื้อในพื้นที่ด้วย โดยฝึกงานอาชีพทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ให้และรับซื้อผลิตภัณฑ์นั้น และเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มสตรีต้านเอดส์ สันป่าตอง” ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย

๕ ปีที่ทำโครงการฯ อยู่กับครู สุดท้ายเมื่อฉันออกจากโครงการฯ เรามีสมาชิกทั้งสิ้นเกือบ ๑๐๐ คน มีทั้งแม่บ้าน เด็กผู้หญิงที่ไม่ได้เรียนต่อ ผู้หญิงบริการ และผู้ติดเชื้อ ปัจจุบันโครงการฯ ได้เปลี่ยนผู้บริหารไปแล้ว มีนายทุนต่างชาติเข้ามาดูแลแทนในรูปแบบบริษัท และสมาชิกส่วนใหญ่ยังคงทำงานให้กับบริษัท โดยรับเป็นค่าแรง ทั้งหมดนี้ เป็นงาน “สร้าง” คน และเป็นผลมาจากความตั้งใจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้หญิงด้วยกันของครู... มัทนี โมชดารา รัตนิน

ฟื้นฟู-ทบทวนภาษาเยอรมันเบื้องต้น (ครั้งที่ ๒๑)

ทบทวนการผันคำกริยา

anrufen ความหมายคือ to ring, telephone {transitvie (intransitive)}

INDICATIVE
Present
ich rufe an
du rufst an
er/sie/es ruft an
wir rufen an
ihr ruft an
Sie/sie rufen an
Imperfect
ich rief an
du riefst an
er/sie/es rief an
wir riefen an
ihr rieft an
Sie/sie riefen an
Perfect
ich habe angerufen
du hast angerufen
er/sie/es hat angerufen
wir haben angerufen
ihr habt angerufen
Sie/sie haben angerufen
Pluperfect
ich hatte angerufen
du hattest angerufen
er/sie/es hatte angerufen
wir hatten angerufen
ihr hattet angerufen
Sie/sie hatten angerufen
Future
ich werde anrufen
du wirst anrufen
er/sie/es wird anrufen
wir werden anrufen
ihr werdet anrufen
Sie/sie werden anrufen
Future Perfect
ich werde angerufen haben
du wirst angerufen haben
er/sie/es wird angerufen haben
wir werden angerufen haben
ihr werdet angerufen haben
Sie/sie werden angerufen haben

CONDITIONAL
Present
ich würde anrufen
du würdest anrufen
er/sie/es würde anrufen
wir würden anrufen
ihr würdet anrufen
Sie/sie würden anrufen

SUBJUNCTIVE
Present
ich rufe an
wir rufen an
Imperfect
ich riefe an
wir riefen an
Perfect
ich habe angerufen
wir haben angerufen
Pluperfect
ich hätte angerufen
wir hätten angerufen

PARTICIPLES
anrufend
angerufen

IMPERATIVE
ruf an! ruft an!
rufen Sie an! rufen wir an!

ตัวอย่างประโยคและสำนวน
- Bitte, rufen Sie mich an. ความหมายคือ Please telephone me.
- Ich rufe Sie morgen an. I’ll ring you tomorrow.
- Sie hat mich jeden Tag angerufen. She has been ringing me every day.
- Als er anrief, war er am Bahnhof. He was at the station when he rang.
- Auf der Straße rief mich jemand an. Someone addressed me in the street.
- Die UN wurde um Hilfe angerufen. The UN was asked for help.
- Man hat ihn zum Zeugen angerufen. He was called as a witness.
- Er rief die Leute um Unterstützung an. He appealed to the people for support.

คำศัพท์
- der Anruf ความหมายคือ call
- der Anrufer caller
- der Telefonanruf telephone call
- der Notruf emergency call
- das Rufzeichen ringing tone
- die Anrufstelle call box
- die Rufnummer phone number
- die Anrufung appeal