“ครูมัทกับการเป็นนักแสดง” เขียนโดย ครูติ๋ม
คัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ในโอกาสที่ครูมัทอายุครบ ๖ รอบ เพื่อทุกท่านที่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานและไม่ได้รับหนังสือนี้ และเพื่อการสดุดีและคารวะครูมัท
“ครูมัทกับการเป็นนักแสดง”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ฟูราช (ครูติ๋ม)
ผู้กำกับละคอนมักอยากได้นักแสดงประเภทอุดมคติ หรือ ideal ที่ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการแสดงเท่านั้น แต่จะต้องเป็นคนที่รอบรู้และเข้าใจในบทบาทของตน รวมทั้งเคารพความคิดเห็นของคนอื่น เป็นคนตรงต่อเวลา ไม่เกี่ยงงอนเรื่องความสำคัญของบท ไม่ว่าจะเป็นบทนำหรือบทรอง เข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมของการแสดง และไม่เอาเป้าหมายส่วนตัวมายึดเป็นสรณะ ทุ่มเททำงานเพื่อทีม เพื่อความสำเร็จของการแสดงโดยเฉพาะ
เราจะหานักแสดงที่เก่งและรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ที่ไหน...จะมีผู้กำกับคนใดบ้างที่โชคดีได้นักแสดงเช่นนี้มาแสดงด้วย
ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะเขียนถึงอาจารย์มัทนี รัตนิน ในบทบาทที่น้อยคนจะได้รู้จัก นั่นคือ ในบทบาทของนักแสดง ครูมัทเป็นนักแสดงที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนไม่เคยลืมเลยว่า ครั้งหนึ่งนั้นครูมัทได้ให้เกียรติ มาแสดงในละคอนเรื่อง “เมื่อหัวใจจะรัก” ตำนานของไซคี-วีนัส ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นและกำกับการแสดง ต่อไปนี้เป็นเรื่องราว “หลังฉาก” ที่น้อยคนจะได้รับรู้
เมื่อผู้เขียนเริ่มลงมือวิเคราะห์บทไซคี-วีนัส และวางแผนที่จะสร้างละคอนเรื่องนี้ขึ้นมา โดยมุ่งให้เป็นละคอนที่มีรูปแบบแฟนตาซีทั้งในเนื้อหาและการนำเสนอ โดยอาศัยเทคนิค แสง สี เสียง ฉาก เครื่องแต่งกาย เพื่อเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ละคอนดั้งเดิมให้เป็นละคอนร่วมสมัย ครูมัทบอกกับผู้เขียนสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “ไอ้ติ๋ม...เรื่องนี้ครูจะแสดงด้วย บทอะไรก็ได้”
ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ประโยคเดียวนี้ทำให้ผู้เขียนต้องคิดหนัก ว่าจะหาบทอะไรที่เหมาะสมกับบุคคลระดับปรมาจารย์ทางละคอนอย่างอาจารย์มัทนี แต่ดูท่าทีและความจริงใจที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงของครูมัทแล้ว ผู้เขียนก็หมดความกังวลใจ และมอบบทนายทวารเฝ้าประตูสู่ยมโลกให้กับครูมัท ผู้ยอมรับบทนี้โดยไม่คัดค้านหรือมีปฏิกิริยาใดๆ เลย ทุกครั้งที่มีการซ้อม ครูมัทจะรอคิวซ้อมอย่างใจเย็น ไม่เคยสร้างความหนักใจให้กับใคร ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่มาร่วมแสดงหรือนักแสดงระดับดารารับเชิญก็ยังรู้สึกสบายใจ และสนุกที่มีครูมัทเข้ามาร่วมทีมด้วย
เมื่อถึงวันแสดง ครูมัทจะมาก่อนเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมงเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมและมาแต่งหน้าด้วยตนเองอย่างพิถีพิถันให้เข้ากับเครื่องแต่งกายและบทบาทที่จะแสดง ในเรื่องนี้ครูมัทปรากฏตัวในการแสดงเพียงไม่ถึงห้านาที แต่ก็ใช้เวลาเตรียมตัวอย่างเต็มที่ และอยู่กับการแสดงจนจบทุกรอบ แม้ว่าในบทที่แสดงนั้น ครูมัทจะไม่มีบทพูดเลย แต่ทุกรอบผู้ชมจะได้ยินเสียงอันทรงพลังของครูมัทร้องโหยหวนขอบคุณสปอนเซอร์ทุกรายที่ให้การสนับสนุนอยู่เป็นช่วงๆ นักศึกษาที่แสดงเป็นไซคี ไม่รู้ว่าจะต้องแสดงร่วมกับครูมัท เมื่อไซคีเดินผ่านประตูยมโลก นักศึกษาผู้นี้ก็ต้องเผชิญหน้ากับนายทวาร และเมื่อเห็นว่าเป็นครูมัท ไซคีก็ตกใจกลัวเสียยิ่งกว่าเจอนายทวารตัวจริงเสียอีก ยืนตัวสั่นงันงก ถูกครูมัทลากตัวเข้ายมโลกไปด้วยความกลัวอย่างสมบทบาทยิ่งนัก
เครื่องแต่งกายของครูมัทนั้นจะต้องมีเครื่องประดับที่ศีรษะมากมาย และค่อนข้างหนัก เรามีการแสดง ๕ รอบ เมื่อแสดงจบรอบแรก ก็เห็นว่าครูต้องทนทุกข์กับการแบกเครื่องประดับบนหัวที่หนัก และเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่าม รุงรัง แถมยังต้องยืนอยู่บนก้อนหินแคบๆ อย่างลำบากลำบน ครูไม่ได้บ่นอะไร ขอแต่เพียงว่าให้เอาเครื่องประดับออกไปบ้าง และจัดเครื่องแต่งกายให้กระชับรูปร่างมากขึ้น เมื่อไร้พันธนาการ ปรมาจารย์ก็แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ เราไม่เคยเห็นนายทวารที่จริงจังและน่ากลัวอย่างนี้มาก่อน
บทเรียนที่ผู้เขียนได้รับจากการกำกับครูมัทในครั้งนี้ ก็คือความเข้าใจในบทบาท และการแสดงของครูมัทเป็นตัวอย่างที่ดีของนักแสดง ครูทำให้เราเข้าใจว่า นักแสดงที่ดีจะต้องเน้นรายละเอียดในทุกอย่าง ครูแสดงให้เห็นว่านักแสดงที่ดีจะต้องมีวินัย มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าบทบาทของตนจะมากหรือน้อย จะโดดเด่นหรือเป็นเพียงตัวประกอบเล็กๆ ก็ตาม ครูมัทสอนให้พวกเราใส่ใจในทุกอย่างเกี่ยวกับการละคอน โดยผ่านทั้งคำบรรยายและการกระทำ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นนักวิชาการละคอนที่มีชื่อ ผู้กำกับ ผู้เขียนบท ผู้วิเคราะห์บทอย่างครูมัท มารับบทแสดงเล็กๆ แต่ให้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่คนละคอนอย่างพวกเราควรยึดถือตลอดไป
รักครูมัท...ครูติ๋ม
“ครูมัทกับการเป็นนักแสดง”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ฟูราช (ครูติ๋ม)
ผู้กำกับละคอนมักอยากได้นักแสดงประเภทอุดมคติ หรือ ideal ที่ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการแสดงเท่านั้น แต่จะต้องเป็นคนที่รอบรู้และเข้าใจในบทบาทของตน รวมทั้งเคารพความคิดเห็นของคนอื่น เป็นคนตรงต่อเวลา ไม่เกี่ยงงอนเรื่องความสำคัญของบท ไม่ว่าจะเป็นบทนำหรือบทรอง เข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมของการแสดง และไม่เอาเป้าหมายส่วนตัวมายึดเป็นสรณะ ทุ่มเททำงานเพื่อทีม เพื่อความสำเร็จของการแสดงโดยเฉพาะ
เราจะหานักแสดงที่เก่งและรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ที่ไหน...จะมีผู้กำกับคนใดบ้างที่โชคดีได้นักแสดงเช่นนี้มาแสดงด้วย
ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะเขียนถึงอาจารย์มัทนี รัตนิน ในบทบาทที่น้อยคนจะได้รู้จัก นั่นคือ ในบทบาทของนักแสดง ครูมัทเป็นนักแสดงที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนไม่เคยลืมเลยว่า ครั้งหนึ่งนั้นครูมัทได้ให้เกียรติ มาแสดงในละคอนเรื่อง “เมื่อหัวใจจะรัก” ตำนานของไซคี-วีนัส ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นและกำกับการแสดง ต่อไปนี้เป็นเรื่องราว “หลังฉาก” ที่น้อยคนจะได้รับรู้
เมื่อผู้เขียนเริ่มลงมือวิเคราะห์บทไซคี-วีนัส และวางแผนที่จะสร้างละคอนเรื่องนี้ขึ้นมา โดยมุ่งให้เป็นละคอนที่มีรูปแบบแฟนตาซีทั้งในเนื้อหาและการนำเสนอ โดยอาศัยเทคนิค แสง สี เสียง ฉาก เครื่องแต่งกาย เพื่อเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ละคอนดั้งเดิมให้เป็นละคอนร่วมสมัย ครูมัทบอกกับผู้เขียนสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “ไอ้ติ๋ม...เรื่องนี้ครูจะแสดงด้วย บทอะไรก็ได้”
ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ประโยคเดียวนี้ทำให้ผู้เขียนต้องคิดหนัก ว่าจะหาบทอะไรที่เหมาะสมกับบุคคลระดับปรมาจารย์ทางละคอนอย่างอาจารย์มัทนี แต่ดูท่าทีและความจริงใจที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงของครูมัทแล้ว ผู้เขียนก็หมดความกังวลใจ และมอบบทนายทวารเฝ้าประตูสู่ยมโลกให้กับครูมัท ผู้ยอมรับบทนี้โดยไม่คัดค้านหรือมีปฏิกิริยาใดๆ เลย ทุกครั้งที่มีการซ้อม ครูมัทจะรอคิวซ้อมอย่างใจเย็น ไม่เคยสร้างความหนักใจให้กับใคร ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่มาร่วมแสดงหรือนักแสดงระดับดารารับเชิญก็ยังรู้สึกสบายใจ และสนุกที่มีครูมัทเข้ามาร่วมทีมด้วย
เมื่อถึงวันแสดง ครูมัทจะมาก่อนเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมงเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมและมาแต่งหน้าด้วยตนเองอย่างพิถีพิถันให้เข้ากับเครื่องแต่งกายและบทบาทที่จะแสดง ในเรื่องนี้ครูมัทปรากฏตัวในการแสดงเพียงไม่ถึงห้านาที แต่ก็ใช้เวลาเตรียมตัวอย่างเต็มที่ และอยู่กับการแสดงจนจบทุกรอบ แม้ว่าในบทที่แสดงนั้น ครูมัทจะไม่มีบทพูดเลย แต่ทุกรอบผู้ชมจะได้ยินเสียงอันทรงพลังของครูมัทร้องโหยหวนขอบคุณสปอนเซอร์ทุกรายที่ให้การสนับสนุนอยู่เป็นช่วงๆ นักศึกษาที่แสดงเป็นไซคี ไม่รู้ว่าจะต้องแสดงร่วมกับครูมัท เมื่อไซคีเดินผ่านประตูยมโลก นักศึกษาผู้นี้ก็ต้องเผชิญหน้ากับนายทวาร และเมื่อเห็นว่าเป็นครูมัท ไซคีก็ตกใจกลัวเสียยิ่งกว่าเจอนายทวารตัวจริงเสียอีก ยืนตัวสั่นงันงก ถูกครูมัทลากตัวเข้ายมโลกไปด้วยความกลัวอย่างสมบทบาทยิ่งนัก
เครื่องแต่งกายของครูมัทนั้นจะต้องมีเครื่องประดับที่ศีรษะมากมาย และค่อนข้างหนัก เรามีการแสดง ๕ รอบ เมื่อแสดงจบรอบแรก ก็เห็นว่าครูต้องทนทุกข์กับการแบกเครื่องประดับบนหัวที่หนัก และเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่าม รุงรัง แถมยังต้องยืนอยู่บนก้อนหินแคบๆ อย่างลำบากลำบน ครูไม่ได้บ่นอะไร ขอแต่เพียงว่าให้เอาเครื่องประดับออกไปบ้าง และจัดเครื่องแต่งกายให้กระชับรูปร่างมากขึ้น เมื่อไร้พันธนาการ ปรมาจารย์ก็แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ เราไม่เคยเห็นนายทวารที่จริงจังและน่ากลัวอย่างนี้มาก่อน
บทเรียนที่ผู้เขียนได้รับจากการกำกับครูมัทในครั้งนี้ ก็คือความเข้าใจในบทบาท และการแสดงของครูมัทเป็นตัวอย่างที่ดีของนักแสดง ครูทำให้เราเข้าใจว่า นักแสดงที่ดีจะต้องเน้นรายละเอียดในทุกอย่าง ครูแสดงให้เห็นว่านักแสดงที่ดีจะต้องมีวินัย มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าบทบาทของตนจะมากหรือน้อย จะโดดเด่นหรือเป็นเพียงตัวประกอบเล็กๆ ก็ตาม ครูมัทสอนให้พวกเราใส่ใจในทุกอย่างเกี่ยวกับการละคอน โดยผ่านทั้งคำบรรยายและการกระทำ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นนักวิชาการละคอนที่มีชื่อ ผู้กำกับ ผู้เขียนบท ผู้วิเคราะห์บทอย่างครูมัท มารับบทแสดงเล็กๆ แต่ให้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่คนละคอนอย่างพวกเราควรยึดถือตลอดไป
รักครูมัท...ครูติ๋ม
0 Comments:
Post a Comment
<< Home