“ครูมัทกับการพัฒนา” เขียนโดย ครูโอ๋ / พี่โอ๋
คัดจากหนังสือที่ระลึก M.Mattani ในโอกาสที่ครูมัทอายุครบ ๖ รอบ เพื่อทุกท่านที่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานและไม่ได้รับหนังสือนี้ และเพื่อการสดุดีและคารวะครูมัท
“ครูมัทกับการพัฒนา”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรินทร์ ใจเที่ยง (๒๙๐๖๖๑๓๑๗๕)
อาจจะมีไม่มากคนนักที่ทราบว่านอกจากงานสอน งานวิชาการ งานละคอน งานอดิเรก และอีกสารพัดงานที่ครูมัททุ่มเทกำลังกายให้แล้ว ก็ยังมีงานเชิงพัฒนาหรือรณรงค์ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการขายลูกสาว หรือ “ตกเขียว” ประเด็นผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวี จนกระทั่งมาถึงงานพัฒนาเพื่อผู้หญิงที่ครูมัทให้ความสนใจแบบจริงจัง...
เรื่องมันน่าจะเริ่มมาจากการที่ครูหาพื้นที่ให้พวกเรา นักศึกษาเอกการละคอนรุ่นแรก รหัส ๒๙ ได้ไปฝึกปรือวิชาละคอนเพื่อการศึกษากับน้องๆ ชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพระเจ้าทองทิพย์ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แล้วครูก็ไปพบว่าบรรดาผู้หญิงที่ในหมู่บ้านแถวนั้น รวมถึงนักเรียนหญิงที่จบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วไม่มีเงินจะเรียนต่อ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างใช้แรงงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง ซึ่งแต่ละวันก็จะมีรถกระบะมารับไปทำงานก่อสร้างตามที่ต่างๆ ต้องนำอาหารไปรับประทานเองหรือไม่ก็ซื้อเอาข้างหน้า และต้องจ่ายค่ารถในแต่ละวัน เมื่อหักลบแล้วก็เหลือรายได้ไม่มากนัก ครูจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือแรงงานหญิงเหล่านั้น โดยสร้างงานขึ้นในพื้นที่ เท่าที่ฉันพอจะจำได้ก็คือ ประมาณปี ๒๕๓๒ ครูจัดตั้งโครงการที่มีชื่อว่า “นพจักร” ซึ่งมีจุดประสงค์จะพัฒนาช่วยเหลือสังคม แล้วครูก็วุ่นอยู่กับการหาทุนมาทำโครงการ จนในที่สุด ครูก็ได้ทุนจากรัฐบาลแคนาดา เพื่อไปทำโครงการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานหญิงที่ว่านี้...
ครูเลือกที่จะใช้งานกระดาษสาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงาน ฉันคิดว่าครูต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจและอดทนมากทีเดียวที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ ครูขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น คณะครูที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่ รุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ และเพื่อนคริสเตียนของครูที่เชียงใหม่ รวมถึงผู้คนอีกมากมายที่เข้ามาในช่วง “ลองผิดลองถูก” และ “ล้มลุกคลุกคลาน” ของโครงการฯ
ชะรอยครูคงจะเห็นว่า เมื่อครั้งที่ไปฝึกปฏิบัติการกับน้องๆ ที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์เป็นเวลา ๑๐ วัน ฉันดูกรี้ดกร้าดไฮเปอร์เข้ากับน้องๆ ได้ แสดงอาการ(เหมือนจะ)รักเด็กได้แนบเนียน และทำหน้าตาเป็นคนที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านซะเอง รวมถึงร้องห่มร้องไห้เป็นที่น่าเวทนาเมื่อต้องจากลากับน้องๆ ครูมัทจึงชักชวนฉันไปทำงานในโครงการที่หมู่บ้าน โดยมีน้องๆ เป็นเหยื่อล่อ..ซึ่งก็สำเร็จ..ก็ครูบอกว่าจะให้ไปทำงานกับน้องๆ ที่โรงเรียนนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้หรอกว่างานอะไร...แต่ในเมื่อรับปากแล้วว่า “ไปค่ะครู”... ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาคำพูดนั้น..เฮ้อ..
กรกฎาคม ๒๕๓๓ ครูมัท ครูวันดี และน้องๆ ละคอนโขยงหนึ่งขึ้นไปส่งฉันที่ จ.เชียงใหม่ ครูให้ฉันไปฝึกการทำกระดาษสากับรุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ ของครู ที่ต้นตองรีสอร์ทดอยแม่สา และระหว่างนั้นครูก็เตรียมบุคลากร (คนเดียวของโครงการ คือ ฉัน) โดยส่งไปเรียนไปฝึกสารพัดวิชาตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ศิลปาชีพ วังสวนจิตรฯ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ คณะวิจิตรศิลป์ มช.
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เริ่มการก่อสร้างโรงฝึกทำกระดาษสาที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ และจัดตั้ง “กลุ่มสตรีผลิตกระดาษสา อ.สันป่าตอง” มีสมาชิกแรกเริ่ม ล้มลุกคลุกคลานอยู่ประมาณ ๗-๘ คน
ต้นปี ๒๕๓๕ ครูขอให้พี่เบน หรือ เบน สวัสดิวัฒน์ ทอมสัน เข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการฯ และรับเจ้าหน้าที่เพิ่มอีก ๑ คน ทีนี้เราก็เลยเป็นกลุ่มเอ็นจีโอกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานด้านพัฒนากับกลุ่มสตรีอย่างเต็มตัว ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ออกแบบงานผลิตภัณฑ์ (ที่ต้องขายได้) และฝึกอบรมให้กับสมาชิกในโครงการ ส่วนพี่อีกคนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานพัฒนาและวิชาการ
ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๓๘ โครงการฯ ขยายตัวออกไปหลายหมู่บ้าน เราพาสมาชิกไปออกร้านตามที่ต่างๆ มีลูกค้าออเดอร์สินค้าของโครงการไปขายในที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บรรดาผู้หญิงที่เข้ามาทำงานกับโครงการ ไม่ไปทำงานก่อสร้างอีกต่อไป หากแต่ได้ทำงานอยู่กับบ้าน ได้ดูแลลูกและสามีเต็มที่ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน ต่อมาเมื่อสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่มีสูงมาก โครงการฯ จึงขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปถึงผู้หญิงบริการและผู้ติดเชื้อในพื้นที่ด้วย โดยฝึกงานอาชีพทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ให้และรับซื้อผลิตภัณฑ์นั้น และเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มสตรีต้านเอดส์ สันป่าตอง” ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย
๕ ปีที่ทำโครงการฯ อยู่กับครู สุดท้ายเมื่อฉันออกจากโครงการฯ เรามีสมาชิกทั้งสิ้นเกือบ ๑๐๐ คน มีทั้งแม่บ้าน เด็กผู้หญิงที่ไม่ได้เรียนต่อ ผู้หญิงบริการ และผู้ติดเชื้อ ปัจจุบันโครงการฯ ได้เปลี่ยนผู้บริหารไปแล้ว มีนายทุนต่างชาติเข้ามาดูแลแทนในรูปแบบบริษัท และสมาชิกส่วนใหญ่ยังคงทำงานให้กับบริษัท โดยรับเป็นค่าแรง ทั้งหมดนี้ เป็นงาน “สร้าง” คน และเป็นผลมาจากความตั้งใจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้หญิงด้วยกันของครู... มัทนี โมชดารา รัตนิน
“ครูมัทกับการพัฒนา”
เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรินทร์ ใจเที่ยง (๒๙๐๖๖๑๓๑๗๕)
อาจจะมีไม่มากคนนักที่ทราบว่านอกจากงานสอน งานวิชาการ งานละคอน งานอดิเรก และอีกสารพัดงานที่ครูมัททุ่มเทกำลังกายให้แล้ว ก็ยังมีงานเชิงพัฒนาหรือรณรงค์ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการขายลูกสาว หรือ “ตกเขียว” ประเด็นผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวี จนกระทั่งมาถึงงานพัฒนาเพื่อผู้หญิงที่ครูมัทให้ความสนใจแบบจริงจัง...
เรื่องมันน่าจะเริ่มมาจากการที่ครูหาพื้นที่ให้พวกเรา นักศึกษาเอกการละคอนรุ่นแรก รหัส ๒๙ ได้ไปฝึกปรือวิชาละคอนเพื่อการศึกษากับน้องๆ ชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพระเจ้าทองทิพย์ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แล้วครูก็ไปพบว่าบรรดาผู้หญิงที่ในหมู่บ้านแถวนั้น รวมถึงนักเรียนหญิงที่จบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วไม่มีเงินจะเรียนต่อ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างใช้แรงงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง ซึ่งแต่ละวันก็จะมีรถกระบะมารับไปทำงานก่อสร้างตามที่ต่างๆ ต้องนำอาหารไปรับประทานเองหรือไม่ก็ซื้อเอาข้างหน้า และต้องจ่ายค่ารถในแต่ละวัน เมื่อหักลบแล้วก็เหลือรายได้ไม่มากนัก ครูจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือแรงงานหญิงเหล่านั้น โดยสร้างงานขึ้นในพื้นที่ เท่าที่ฉันพอจะจำได้ก็คือ ประมาณปี ๒๕๓๒ ครูจัดตั้งโครงการที่มีชื่อว่า “นพจักร” ซึ่งมีจุดประสงค์จะพัฒนาช่วยเหลือสังคม แล้วครูก็วุ่นอยู่กับการหาทุนมาทำโครงการ จนในที่สุด ครูก็ได้ทุนจากรัฐบาลแคนาดา เพื่อไปทำโครงการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานหญิงที่ว่านี้...
ครูเลือกที่จะใช้งานกระดาษสาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงาน ฉันคิดว่าครูต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจและอดทนมากทีเดียวที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ ครูขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น คณะครูที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่ รุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ และเพื่อนคริสเตียนของครูที่เชียงใหม่ รวมถึงผู้คนอีกมากมายที่เข้ามาในช่วง “ลองผิดลองถูก” และ “ล้มลุกคลุกคลาน” ของโครงการฯ
ชะรอยครูคงจะเห็นว่า เมื่อครั้งที่ไปฝึกปฏิบัติการกับน้องๆ ที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์เป็นเวลา ๑๐ วัน ฉันดูกรี้ดกร้าดไฮเปอร์เข้ากับน้องๆ ได้ แสดงอาการ(เหมือนจะ)รักเด็กได้แนบเนียน และทำหน้าตาเป็นคนที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านซะเอง รวมถึงร้องห่มร้องไห้เป็นที่น่าเวทนาเมื่อต้องจากลากับน้องๆ ครูมัทจึงชักชวนฉันไปทำงานในโครงการที่หมู่บ้าน โดยมีน้องๆ เป็นเหยื่อล่อ..ซึ่งก็สำเร็จ..ก็ครูบอกว่าจะให้ไปทำงานกับน้องๆ ที่โรงเรียนนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้หรอกว่างานอะไร...แต่ในเมื่อรับปากแล้วว่า “ไปค่ะครู”... ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาคำพูดนั้น..เฮ้อ..
กรกฎาคม ๒๕๓๓ ครูมัท ครูวันดี และน้องๆ ละคอนโขยงหนึ่งขึ้นไปส่งฉันที่ จ.เชียงใหม่ ครูให้ฉันไปฝึกการทำกระดาษสากับรุ่นพี่โรงเรียนวัฒนาฯ ของครู ที่ต้นตองรีสอร์ทดอยแม่สา และระหว่างนั้นครูก็เตรียมบุคลากร (คนเดียวของโครงการ คือ ฉัน) โดยส่งไปเรียนไปฝึกสารพัดวิชาตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ศิลปาชีพ วังสวนจิตรฯ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ คณะวิจิตรศิลป์ มช.
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เริ่มการก่อสร้างโรงฝึกทำกระดาษสาที่โรงเรียนบ้านพระเจ้าทองทิพย์ และจัดตั้ง “กลุ่มสตรีผลิตกระดาษสา อ.สันป่าตอง” มีสมาชิกแรกเริ่ม ล้มลุกคลุกคลานอยู่ประมาณ ๗-๘ คน
ต้นปี ๒๕๓๕ ครูขอให้พี่เบน หรือ เบน สวัสดิวัฒน์ ทอมสัน เข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการฯ และรับเจ้าหน้าที่เพิ่มอีก ๑ คน ทีนี้เราก็เลยเป็นกลุ่มเอ็นจีโอกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานด้านพัฒนากับกลุ่มสตรีอย่างเต็มตัว ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ออกแบบงานผลิตภัณฑ์ (ที่ต้องขายได้) และฝึกอบรมให้กับสมาชิกในโครงการ ส่วนพี่อีกคนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานพัฒนาและวิชาการ
ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๓๘ โครงการฯ ขยายตัวออกไปหลายหมู่บ้าน เราพาสมาชิกไปออกร้านตามที่ต่างๆ มีลูกค้าออเดอร์สินค้าของโครงการไปขายในที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บรรดาผู้หญิงที่เข้ามาทำงานกับโครงการ ไม่ไปทำงานก่อสร้างอีกต่อไป หากแต่ได้ทำงานอยู่กับบ้าน ได้ดูแลลูกและสามีเต็มที่ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน ต่อมาเมื่อสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่มีสูงมาก โครงการฯ จึงขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปถึงผู้หญิงบริการและผู้ติดเชื้อในพื้นที่ด้วย โดยฝึกงานอาชีพทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ให้และรับซื้อผลิตภัณฑ์นั้น และเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มสตรีต้านเอดส์ สันป่าตอง” ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย
๕ ปีที่ทำโครงการฯ อยู่กับครู สุดท้ายเมื่อฉันออกจากโครงการฯ เรามีสมาชิกทั้งสิ้นเกือบ ๑๐๐ คน มีทั้งแม่บ้าน เด็กผู้หญิงที่ไม่ได้เรียนต่อ ผู้หญิงบริการ และผู้ติดเชื้อ ปัจจุบันโครงการฯ ได้เปลี่ยนผู้บริหารไปแล้ว มีนายทุนต่างชาติเข้ามาดูแลแทนในรูปแบบบริษัท และสมาชิกส่วนใหญ่ยังคงทำงานให้กับบริษัท โดยรับเป็นค่าแรง ทั้งหมดนี้ เป็นงาน “สร้าง” คน และเป็นผลมาจากความตั้งใจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้หญิงด้วยกันของครู... มัทนี โมชดารา รัตนิน
0 Comments:
Post a Comment
<< Home