Sunday, September 02, 2007

ฟื้นฟู-ทบทวนภาษาเยอรมันเบื้องต้น (ครั้งที่ ๑)

สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นการตัดสินใจอันผิดพลาดของผู้เขียน คือการเลือกเรียนแผนการเรียนศิลป์คำนวณ เมื่อครั้งอยู่ชั้นมัธยมปลาย ผู้เขียนแทบจดจำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่ได้ และเรียนแค่ให้สอบผ่านไปในแต่ละเทอม ยังดีที่พอเอาความรู้มาสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็มีโอกาสเลือกเรียนภาษาเยอรมันได้สองภาคเรียน และไม่ได้เรียนต่ออีก เพราะความยากเพิ่มขึ้นในระดับสูง

ผู้เขียนรู้สึกว่าตัวเองได้ท่องโลกกว้างขึ้นผ่านการเรียนภาษาเยอรมัน และขอรำลึกถึงอาจารย์ผู้สอนไว้ในที่นี้คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิมพ์พรรณ เสนะวีณิน ซึ่งผู้เขียนนับว่าท่านเป็นเสมือนอาจารย์ที่ปรึกษาในสมัยเรียนชั้นปี ๑ ก่อนจะเลือกเรียนวิชาเอกในชั้นปี ๒ อาจารย์มาสอนที่มหาวิทยาลัยเป็นปีแรกในปีนั้น และสอนพวกเราทั้งสองเทอม อาจารย์ให้ความกรุณาผู้เขียนและเพื่อนๆ ในการพัฒนาการเรียนภาษาเยอรมัน โดยการให้คำรับรองเพื่อเรียนต่อในเวลาพิเศษที่สถาบันนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้เขียนไม่อาจทำได้ลุล่วงตามที่ตั้งใจ ด้วยอุปสรรคเรื่องเวลาเรียนในตอนนั้น และท่านยังเป็นผู้แนะนำให้ผู้เขียนสมัครขอทุนอุดหนุนการเรียนอยู่โดยตลอด และสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกยิ่งดีใจเกี่ยวกับตัวอาจารย์ก็คือ ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสรู้เมื่อไม่นานมานี้ว่า อาจารย์คือเพื่อนนักเรียนสมัยชั้นมัธยมของอาจารย์ที่ผู้เขียนเคารพอย่างยิ่ง ผู้ล่วงลับไปแล้ว

ในปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่าตัวเองควรฟื้นฟูและทบทวนความรู้เกี่ยวกับภาษาเยอรมัน เท่าที่ตนเองพอจะค้นคว้าได้ในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ความรู้นั้นสูญหายไป ส่วนจะพัฒนาต่อไปได้อีกมากน้อยแค่ไหนนั้นก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และผู้เขียนหวังให้การฟื้นฟูทบทวนนี้เกิดประโยชน์แก่ผู้ชมทุกท่านด้วย ดังเช่นที่ผู้เขียนได้รับความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เวลาฟังรายการ Radio Active – Journey to the Unknown จัดโดยป้าแต๋ว – คุณวาสนา วีระชาติพลี ทาง FM 99.5 MHz. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๒๓.๐๐ – ๐๒.๐๐ น. ผู้เขียนได้ฟังเพลงที่หาฟังยากและไม่ค่อยรู้จักจำนวนมากมาย จนแทบจำชื่อเพลงและชื่อวงดนตรีไม่ได้ และเรียนรู้คำศัพท์ หรือสำนวนภาษาอังกฤษไปด้วยในวันที่ฟัง น่าเสียดายที่พี่อ้อ – คุณเดือนเพ็ญ สีหรัตน์ ไม่ค่อยได้เปิดเพลงแนวที่ป้าแต๋วจัด ตามช่วงที่จัดในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. ผู้เขียนเคยติดตามรายการของพี่อ้อมานับแต่ครั้ง Soundscreen ซึ่งผู้เขียนอยากให้คืนชีพมาอีก ส่วนรายการช่วงที่ผู้เขียนชอบฟังแต่ไม่ค่อยได้ฟัง ก็คือช่วงของคุณเป็นเลิศ ซึ่งมาก่อนช่วงของป้าแต๋ว ในเวลา ๒๐.๐๐ – ๒๓.๐๐ น.

ผู้เขียนจึงนำความรู้จากตำราที่พบมาไม่นานนี้ เกี่ยวกับการผันคำกริยาในภาษาเยอรมันมาถ่ายทอดไว้ โดยขอสงวนวิธีการอธิบายแบบลำลองตามความสะดวกของตัวเอง ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดประการใดในการถ่ายทอด ผู้เขียนถือว่าเป็นความบกพร่องในการเรียนรู้และทำความเข้าใจของตนเองเพียงผู้เดียว จุดประสงค์ใหญ่ของผู้เขียนคือการทบทวน ขณะเดียวกันก็เป็นการมอบความรู้ในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ชมที่สนใจ อันถือเป็นการให้ประโยชน์แก่ท่านทางหนึ่ง ในวิธีที่คิดว่าทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ให้ผลมากที่สุดสำหรับตัวเองด้วย และหากท่านใดต้องการค้นคว้าต่อ โดยเฉพาะเรื่องการออกเสียง นอกเหนือจากการสอบถามผู้รู้ ผู้เขียนขอแนะนำวิธีที่ตนเองทำคือ เข้าไปที่ google.co.th แล้วพิมพ์คำว่า german for beginners เพื่อการค้นหา รวมถึงการฟังเพลง และดูหนังที่พูดภาษาเยอรมันตามโอกาสอำนวย

และเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการไม่มีตัวอักษรเยอรมันอย่างครบถ้วนในระบบการพิมพ์ของผู้เขียน ผู้เขียนจึงขอกำหนดการเขียนขึ้นเฉพาะ สำหรับการใส่เครื่องหมาย umlaut ซึ่งเป็นจุดคู่สองจุด บนสระ a, o, u ผู้เขียนจะเขียนเครื่องหมายนี้ใส่ไว้ในวงเล็บแบบเหลี่ยม [..] ติดกับสระตัวนั้นๆ ส่วนตัว ess-tset ซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องหมายเบต้า (ขออภัย ไม่มีเครื่องหมายนี้ในระบบการพิมพ์ โปรดค้นคว้าเพิ่มเติม) แต่หางไม่ยาว ผู้เขียนขอเขียนแทนด้วยตัว ss โดยเน้นเป็นตัวเอน

หลักความเข้าใจโดยทั่วไปเบื้องต้นที่ควรรู้
German nouns
- ไม่ว่าจะวางอยู่ตรงส่วนใดของประโยค ก็เขียนด้วย a capital letter
- ส่วนคำขึ้นต้นประโยคเขียนด้วย a capital letter เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ
Nouns and gender
- der, das, die (เท่ากับ ‘the’ ในภาษาอังกฤษ) เรียกว่า definite articles
- article ในภาษาเยอรมันเป็นของ noun โดยเฉพาะ ในภาษาเยอรมัน noun ทุกคำ มี gender
- ภาษาเยอรมันมี gender สามประเภทได้แก่ :
1. masculine (der)
2. neuter (das)
3. feminine (die)
Indefinite articles
ได้แก่คำว่า ein (เท่ากับ a, an ในภาษาอังกฤษ) มีรูปการใช้ดังนี้
- ในกรณีที่ใช้นำหน้า noun ซึ่งเป็น subject : masculine – ein, neuter – ein, feminine – eine
- ในกรณีที่ใช้นำหน้า noun ซึ่งเป็น object : masculine – einen, neuter – ein, feminine – eine
Personal pronouns
- First person singular : ich (เท่ากับ I)
- Second person singular : du (ใช้แบบไม่เป็นทางการ) , Sie (ใช้แบบเป็นทางการ สุภาพ) (เท่ากับ you)
- Third person singular : er, sie, es (เท่ากับ he, she, it)
- First person plural : wir (เท่ากับ we)
- Second person plural : ihr (du หลายคน) , Sie (Sie หลายคน) (เท่ากับ you)
- Third person plural : sie (เท่ากับ they)
The position of the German verb in the sentence
- the verb ต้องวางไว้ตำแหน่งที่สองเสมอในประโยคเดี่ยว
- สำหรับประโยคเดี่ยวที่ใช้ compound tenses ส่วนที่วางไว้ตรงตำแหน่งที่สองคือ the auxiliary verb ขณะที่ the past participle วางไว้ตรงตำแหน่งท้ายประโยค
- ส่วนใน a subordinate clause นั้น the verb วางไว้ท้ายประโยคเสมอในกรณีที่เป็น simple tenses ขณะที่ใน compound tenses นั้น ส่วนที่วางไว้ท้ายประโยคคือ the auxiliary verb
German verbs and their prepositions
verbs หลายตัวในภาษาเยอรมันใช้คู่กับ a particular preposition ซึ่งสัมพันธ์กับความหมายเฉพาะ ควรทำความเข้าใจ verb กับ preposition ไปควบคู่กัน

ทบทวนการผันคำกริยา

sein ความหมายคือ to be, exist {intransitive/intr.}

INDICATIVE
Present
ich bin
du bist
er/sie/es ist
wir sind
ihr seid
Sie/sie sind
Pluperfect
ich war gewesen

PARTICIPLES
seiend
gewesen



0 Comments:

Post a Comment

<< Home