ที่มาและหลักเกณฑ์การตัดสินเพื่อการประกาศเกียรติคุณฯ
กลุ่มนี้ก่อตั้งโดยผู้เขียน ผู้ติดตามดูหนังไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก และมีความชื่นชอบบทบาทการแสดงที่โลดแล่นอยู่ในจอ รวมทั้งติดตามการประกาศรางวัลเกี่ยวกับการแสดงในวงการหนังไทยและต่างประเทศมาโดยตลอด นอกเหนือจากการเป็นผู้ชมอย่างเหนียวแน่นแล้ว ผู้เขียนคือผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านการแสดง และมีประสบการณ์ทางการแสดงละคอนเวทีและละคอนโทรทัศน์ (แม้ยังไม่เคยแสดงภาพยนตร์ก็ตาม ก็ต้องสามารถแสดงได้) รวมทั้งยังทำงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการแสดง
กิจกรรมการประกาศเกียรติคุณทางการแสดงฯ นี้ คือสิ่งสนองความสนใจโดยส่วนตัวของผู้เขียน อันเกี่ยวโยงกับสถานะต่างๆ ข้างต้น นั่นคือ ผู้ชม-ผู้มีคุณวุฒิทางการแสดง-นักแสดง-นักวิชาการในสายงานด้านการแสดง ผู้เขียนมิได้ถือว่าตนเองมีความเป็นเลิศแล้วในสถานะดังกล่าว แต่สถานะนี้คือสิ่งสำคัญที่มีความหมายยิ่ง ต่อการแสดงมุมมองเกี่ยวกับการแสดงในหนังไทย อันปรากฏอยู่ในการตัดสินรางวัลของกลุ่มฯ นอกจากนั้น จุดมุ่งหมายหนึ่งของการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ก็คือการสนองต่อโอวาทของท่านครูละคอนของผู้เขียน ผู้สั่งสอนศิษย์ไว้ตอนสำเร็จการศึกษาว่า "อย่าเอาความรู้ไปฝังดิน" (และต้องพัฒนาความรู้ต่อไปไม่มีสิ้นสุด)
การตัดสินเพื่อการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักแสดงทุกท่านในกิจกรรมแต่ละปี ย่อมอยู่ในข่ายความรับผิดชอบสำคัญของผู้เขียน ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ และผู้ดำเนินการพิจารณาและตัดสิน ผู้เขียนมีข้อชี้แจงต่อผู้ชมทุกท่าน ดังนี้
- ในเบื้องต้น ท่านย่อมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทุกประการกับการตัดสินของกลุ่มฯ ซึ่งอิงกับมุมมองของตัวบุคคลเฉพาะ คือผู้เขียน เป็นส่วนใหญ่ และใคร่ขอย้ำว่าการประกาศรางวัลนี้ คือมุมมองหนึ่งต่อการแสดงในภาพยนตร์ไทย
- หน้าที่หลักในการติดตามชมภาพยนตร์ไทยในรอบปีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือหน้าที่ของผู้เขียน กรรมการท่านอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องดูหนังมากเท่ากับผู้เขียน หรืออาจไม่ได้ดูสักเรื่องเลยก็ได้ สำหรับในปีที่ผ่านๆ มา มีหนังจำนวนไม่ถึง ๕ เรื่อง ที่ไม่ผ่านสายตาของผู้เขียน
- คณะกรรมการทั้งหมดในกลุ่ม ล้วนเป็นบุคคลที่มาจากการเชิญของผู้เขียนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ความสำคัญหลักของกรรมการแต่ละท่าน คือการให้คำรับรองเกี่ยวกับคุณวุฒิ และศักยภาพของผู้เขียนในการทำกิจกรรมนี้ ส่วนการให้ความเห็นในการตัดสินรางวัลนับเป็นส่วนรอง ทั้งนี้ ด้วยแต่ละท่านย่อมมีภารกิจส่วนตัว และข้อจำกัดทางด้านเวลา จึงกล่าวได้ว่ากรรมการทุกท่าน รวมทั้งคณะที่ปรึกษา คือผู้ให้เกียรติอย่างยิ่งแก่ผู้เขียน และเชื่อถือในวิจารณญาณและมุมมองในการตัดสินของผู้เขียน
- การพิจารณาและตัดสินเป็นสิทธิเฉพาะของคณะกรรมการ อิงตามอิทธิพลที่เกี่ยวโยงกับมุมมองและรสนิยมเฉพาะตัวด้านการแสดง โดยผู้เขียนในฐานะหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ชี้ขาดในขั้นสุดท้าย
- การประกาศรางวัลนี้ให้ความสำคัญต่อการแจ้งข่าวสาร เหนือการจัดงานพิธีการ การกำหนดวันประกาศฯ มุ่งกระทำเพื่อแจ้งข้อมูลต่อสาธารณชน โดยทำในรูปแบบอันเรียบง่ายและสะดวก
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาและตัดสิน แบ่งเป็น ๒ ช่วง ดังนี้
๑. ช่วงการประกาศรายชื่อนักแสดงดีเด่น (ช่วงเดือนพฤษภาคม)
- หัวหน้ากลุ่มคัดเลือกนักแสดง ๕ คน/ทีม โดยแบ่งประเภทบทบาทตามสาขา แล้วเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการ ในกรณีที่คณะกรรมการเสนอรายชื่อมาให้พิจารณา การคัดเลือกรายชื่อ ๕ รายชื่อสุดท้าย ขึ้นอยู่กับการชี้ขาดของหัวหน้ากลุ่ม เนื่องจากทุกรายชื่อมีความสำคัญทัดเทียมกันในฐานะนักแสดงดีเด่น และควรมีศักยภาพเพียงพอต่อการประกาศให้เป็นนักแสดง/ทีมนักแสดงยอดเยี่ยมได้ทุกราย
- ในการประกาศรางวัลสาขาเกียรติคุณสดุดี กรรมการทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการเสนอชื่อนักแสดงอาวุโสท่านใดๆ โดยกรรมการทั้งคณะต้องรับรู้และร่วมกันให้ความเห็นชอบ เว้นแต่กรรมการคนใดมีเหตุสุดวิสัยในการออกความเห็น
๒. ช่วงการตัดสินนักแสดงยอดเยี่ยม (ภายในช่วงปีนั้น โดยกำหนดวันเวลาตามความเหมาะสมต่อไป)
- เกณฑ์การตัดสินในขั้นสุดท้ายนี้ ใช้วิธีการโหวตคะแนนของกรรมการคณะหลัก
- ในแต่ละสาขาที่พิจารณา คะแนนของกรรมการที่ดูหนังเป็นจำนวนมากกว่า มีผลเหนือกว่าของกรรมการที่ดูหนังเป็นจำนวนน้อยกว่า หากผลคะแนนออกมาไม่เป็นเอกฉันท์ หัวหน้ากลุ่มคือผู้ตัดสินชี้ขาด
ทั้งหมดที่กล่าวมา คือแนวทางสำคัญในการดำเนินกิจกรรมหลักของกลุ่มฯ เพื่อเสนอให้ผู้ชมทุกท่านได้พิจารณา โดยผู้เขียนมุ่งหวังได้รับการทำความเข้าใจเหนือกว่าความเห็นชอบ และหากท่านเห็นชอบด้วย ผู้เขียนก็จะยิ่งรู้สึกยินดีและขอบพระคุณ
กิจกรรมการประกาศเกียรติคุณทางการแสดงฯ นี้ คือสิ่งสนองความสนใจโดยส่วนตัวของผู้เขียน อันเกี่ยวโยงกับสถานะต่างๆ ข้างต้น นั่นคือ ผู้ชม-ผู้มีคุณวุฒิทางการแสดง-นักแสดง-นักวิชาการในสายงานด้านการแสดง ผู้เขียนมิได้ถือว่าตนเองมีความเป็นเลิศแล้วในสถานะดังกล่าว แต่สถานะนี้คือสิ่งสำคัญที่มีความหมายยิ่ง ต่อการแสดงมุมมองเกี่ยวกับการแสดงในหนังไทย อันปรากฏอยู่ในการตัดสินรางวัลของกลุ่มฯ นอกจากนั้น จุดมุ่งหมายหนึ่งของการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ก็คือการสนองต่อโอวาทของท่านครูละคอนของผู้เขียน ผู้สั่งสอนศิษย์ไว้ตอนสำเร็จการศึกษาว่า "อย่าเอาความรู้ไปฝังดิน" (และต้องพัฒนาความรู้ต่อไปไม่มีสิ้นสุด)
การตัดสินเพื่อการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักแสดงทุกท่านในกิจกรรมแต่ละปี ย่อมอยู่ในข่ายความรับผิดชอบสำคัญของผู้เขียน ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ และผู้ดำเนินการพิจารณาและตัดสิน ผู้เขียนมีข้อชี้แจงต่อผู้ชมทุกท่าน ดังนี้
- ในเบื้องต้น ท่านย่อมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทุกประการกับการตัดสินของกลุ่มฯ ซึ่งอิงกับมุมมองของตัวบุคคลเฉพาะ คือผู้เขียน เป็นส่วนใหญ่ และใคร่ขอย้ำว่าการประกาศรางวัลนี้ คือมุมมองหนึ่งต่อการแสดงในภาพยนตร์ไทย
- หน้าที่หลักในการติดตามชมภาพยนตร์ไทยในรอบปีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือหน้าที่ของผู้เขียน กรรมการท่านอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องดูหนังมากเท่ากับผู้เขียน หรืออาจไม่ได้ดูสักเรื่องเลยก็ได้ สำหรับในปีที่ผ่านๆ มา มีหนังจำนวนไม่ถึง ๕ เรื่อง ที่ไม่ผ่านสายตาของผู้เขียน
- คณะกรรมการทั้งหมดในกลุ่ม ล้วนเป็นบุคคลที่มาจากการเชิญของผู้เขียนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ความสำคัญหลักของกรรมการแต่ละท่าน คือการให้คำรับรองเกี่ยวกับคุณวุฒิ และศักยภาพของผู้เขียนในการทำกิจกรรมนี้ ส่วนการให้ความเห็นในการตัดสินรางวัลนับเป็นส่วนรอง ทั้งนี้ ด้วยแต่ละท่านย่อมมีภารกิจส่วนตัว และข้อจำกัดทางด้านเวลา จึงกล่าวได้ว่ากรรมการทุกท่าน รวมทั้งคณะที่ปรึกษา คือผู้ให้เกียรติอย่างยิ่งแก่ผู้เขียน และเชื่อถือในวิจารณญาณและมุมมองในการตัดสินของผู้เขียน
- การพิจารณาและตัดสินเป็นสิทธิเฉพาะของคณะกรรมการ อิงตามอิทธิพลที่เกี่ยวโยงกับมุมมองและรสนิยมเฉพาะตัวด้านการแสดง โดยผู้เขียนในฐานะหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ชี้ขาดในขั้นสุดท้าย
- การประกาศรางวัลนี้ให้ความสำคัญต่อการแจ้งข่าวสาร เหนือการจัดงานพิธีการ การกำหนดวันประกาศฯ มุ่งกระทำเพื่อแจ้งข้อมูลต่อสาธารณชน โดยทำในรูปแบบอันเรียบง่ายและสะดวก
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาและตัดสิน แบ่งเป็น ๒ ช่วง ดังนี้
๑. ช่วงการประกาศรายชื่อนักแสดงดีเด่น (ช่วงเดือนพฤษภาคม)
- หัวหน้ากลุ่มคัดเลือกนักแสดง ๕ คน/ทีม โดยแบ่งประเภทบทบาทตามสาขา แล้วเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการ ในกรณีที่คณะกรรมการเสนอรายชื่อมาให้พิจารณา การคัดเลือกรายชื่อ ๕ รายชื่อสุดท้าย ขึ้นอยู่กับการชี้ขาดของหัวหน้ากลุ่ม เนื่องจากทุกรายชื่อมีความสำคัญทัดเทียมกันในฐานะนักแสดงดีเด่น และควรมีศักยภาพเพียงพอต่อการประกาศให้เป็นนักแสดง/ทีมนักแสดงยอดเยี่ยมได้ทุกราย
- ในการประกาศรางวัลสาขาเกียรติคุณสดุดี กรรมการทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการเสนอชื่อนักแสดงอาวุโสท่านใดๆ โดยกรรมการทั้งคณะต้องรับรู้และร่วมกันให้ความเห็นชอบ เว้นแต่กรรมการคนใดมีเหตุสุดวิสัยในการออกความเห็น
๒. ช่วงการตัดสินนักแสดงยอดเยี่ยม (ภายในช่วงปีนั้น โดยกำหนดวันเวลาตามความเหมาะสมต่อไป)
- เกณฑ์การตัดสินในขั้นสุดท้ายนี้ ใช้วิธีการโหวตคะแนนของกรรมการคณะหลัก
- ในแต่ละสาขาที่พิจารณา คะแนนของกรรมการที่ดูหนังเป็นจำนวนมากกว่า มีผลเหนือกว่าของกรรมการที่ดูหนังเป็นจำนวนน้อยกว่า หากผลคะแนนออกมาไม่เป็นเอกฉันท์ หัวหน้ากลุ่มคือผู้ตัดสินชี้ขาด
ทั้งหมดที่กล่าวมา คือแนวทางสำคัญในการดำเนินกิจกรรมหลักของกลุ่มฯ เพื่อเสนอให้ผู้ชมทุกท่านได้พิจารณา โดยผู้เขียนมุ่งหวังได้รับการทำความเข้าใจเหนือกว่าความเห็นชอบ และหากท่านเห็นชอบด้วย ผู้เขียนก็จะยิ่งรู้สึกยินดีและขอบพระคุณ
0 Comments:
Post a Comment
<< Home