คุณลักษณะดีเด่นของ "ชีวิตติดเบอร์ฯ"
คัดลอกจากแบบประเมินผลของอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการวิทยานิพนธ์ ที่เผยแพร่ในงานสัมมนาฯ ทั้งนี้โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์สำคัญสามประการคือ ความเป็นเอกลักษณ์ (originality) ในทางวิชาการ การให้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ (contribution) ต่อทางวิชาการ และการมีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องและการมีความเป็นไปได้ในทางวิชาการ
๑. ความเป็นเอกลักษณ์ในทางวิชาการปรากฏให้เห็นดังนี้
- ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนและเพศวิถีของเกย์ กับบทบาทของเซานาในการสร้างจิตสำนึกของความเป็นเกย์ ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัยในระดับวิทยานิพนธ์มาก่อนในประเทศไทย
- นำเสนอมิติทางตัวตนของเกย์ที่มีความสลับซับซ้อน โดยเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคมต่างๆ เช่น ชนชั้น อาชีพ ชาติพันธุ์ เข้ากับเพศวิถี เพื่อแสดงให้เห็นความหลากหลายที่ปรากฏภายในกลุ่มเกย์
- นำประสบการณ์ของผู้ศึกษาที่มีเพศสถานะเกย์อย่างเปิดเผย และเป็นผู้ใช้บริการในเซานามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์
- นำเสนอการศึกษาเรื่องตัวตนและเพศวิถีของเกย์ในเซานาในเชิงบูรณาการ โดยผสมผสานทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น ทฤษฎีการเล่าเรื่อง (narrative theories) ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา (cultural studies) และทฤษฎีสตรีนิยม (feminist theories)
๒. มีการให้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อทางวิชาการด้วยเหตุผลดังนี้
- ผู้วิจัยนำแนวคิดของ Judith Butler ที่พูดถึงการสวมบทบาททางเพศ (performativity) ผ่านกระบวนการประกอบสร้างตัวตน (identification) ที่ดำเนินควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นอื่น (disidentification) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาอัตลักษณ์ของเกย์ เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนผ่าน เลื่อนไหล ของบุคคลที่นิยามตัวเองว่าเป็นเกย์
- งานวิจัยแสดงให้เห็นความสำคัญของเซานา ในฐานะที่เป็นพื้นที่พิเศษที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพื้นที่ประกอบพิธีกรรม และบทบาทของพื้นที่ดังกล่าว ในการเรียนรู้เพศวิถีร่วมกันของกลุ่มเกย์ ผ่านทางการจัดองค์ประกอบของพื้นที่ กิจกรรมที่กลุ่มเกย์ร่วมกันทำในเซานา และการเรียนรู้ภาษา (วัจนะภาษาและอวัจนะภาษา) ตลอดจนสัญญะต่างๆ ร่วมกัน
- งานวิจัยชิ้นนี้ปรับเปลี่ยนความเข้าใจของสังคมที่เกี่ยวกับกลุ่มเกย์และเพศวิถีของเกย์ ซึ่งมักจะจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องเพศเท่านั้น โดยชี้ให้เห็นการเมืองที่แฝงอยู่ในเพศวิถีของเกย์ การเข้าเซานาของกลุ่มเกย์จึงไม่เป็นไปเพื่อการแสวงหาความสำราญทางเพศอย่างเดียว แต่ยังเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมพลังและเพื่อสร้างเครือข่ายของกลุ่มเกย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเกย์ในโลกภายนอก
- การใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่องในงานวิจัยชิ้นนี้ เผยให้เห็นความหลากหลายและซับซ้อนภายในกลุ่มเกย์ ซึ่งเป็นชุมชนที่เกย์มีส่วนร่วมในการอ่าน ตีความ วิเคราะห์ ประสบการณ์ของตนเอง และให้คำนิยามแก่ตัวตนและเพศวิถีของตนจากมุมมองที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางชนชั้น อาชีพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น
๓.มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ทางวิชาการด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยทำการค้นคว้าหาข้อมูล โดยการลงพื้นที่ในเซานาและสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครื่องมือในการอ่าน วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลได้อย่างครอบคลุมตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างละเอียดลึกซึ้งและชัดเจน
- ใช้วิธีวิทยาแนวสตรีนิยม โดยเน้นวิธีวิทยาของกลุ่มสตรีนิยมนอกกระแสหลัก ดังที่ปรากฏในงานของ Patricia Hill Collins และ bell hooks ซึ่งให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงประสบการณ์เข้ากับทฤษฎี พื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ บุคคลกับชุมชน แนวทางดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ ที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของกลุ่มคนชายขอบ รวมถึงกลุ่มเกย์
- ส่งเสริมการสร้างชุมชนของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูล งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่สิ้นสุดที่การนำข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประมวลผลโดยผู้วิจัย เพื่อนำเสนอต่อสังคมภายนอก แต่ดำเนินต่อไปโดยให้ผู้วิจัยนำผลการศึกษาวิเคราะห์กลับไปให้กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ได้อ่าน และแสดงความคิดเห็นต่อผลการศึกษาวิเคราะห์ วิธีวิจัยดังกล่าวเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ (อันได้แก่เซบาสเตียนและเก๋ ผู้กลายเป็นผู้ร่วมงานของผู้วิจัย)
- เลือกใช้การนำเสนอแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา (autoethnography) เพื่อสอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัยในแนวสตรีนิยม โดยเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยซึ่งแสดงสถานภาพเกย์ควิงอย่างเปิดเผย และเป็นผู้ที่เรียนรู้เพศวิถีเกย์ผ่านประสบการณ์ในเซานา ได้มีส่วนในการแบ่งปันข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ และนำประสบการณ์ของตนมาวิเคราะห์ร่วมกันกับข้อมูลที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการศึกษากลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ และการศึกษาผู้ศึกษาไปพร้อมๆ กัน
๑. ความเป็นเอกลักษณ์ในทางวิชาการปรากฏให้เห็นดังนี้
- ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนและเพศวิถีของเกย์ กับบทบาทของเซานาในการสร้างจิตสำนึกของความเป็นเกย์ ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัยในระดับวิทยานิพนธ์มาก่อนในประเทศไทย
- นำเสนอมิติทางตัวตนของเกย์ที่มีความสลับซับซ้อน โดยเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคมต่างๆ เช่น ชนชั้น อาชีพ ชาติพันธุ์ เข้ากับเพศวิถี เพื่อแสดงให้เห็นความหลากหลายที่ปรากฏภายในกลุ่มเกย์
- นำประสบการณ์ของผู้ศึกษาที่มีเพศสถานะเกย์อย่างเปิดเผย และเป็นผู้ใช้บริการในเซานามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์
- นำเสนอการศึกษาเรื่องตัวตนและเพศวิถีของเกย์ในเซานาในเชิงบูรณาการ โดยผสมผสานทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น ทฤษฎีการเล่าเรื่อง (narrative theories) ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา (cultural studies) และทฤษฎีสตรีนิยม (feminist theories)
๒. มีการให้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อทางวิชาการด้วยเหตุผลดังนี้
- ผู้วิจัยนำแนวคิดของ Judith Butler ที่พูดถึงการสวมบทบาททางเพศ (performativity) ผ่านกระบวนการประกอบสร้างตัวตน (identification) ที่ดำเนินควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นอื่น (disidentification) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาอัตลักษณ์ของเกย์ เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนผ่าน เลื่อนไหล ของบุคคลที่นิยามตัวเองว่าเป็นเกย์
- งานวิจัยแสดงให้เห็นความสำคัญของเซานา ในฐานะที่เป็นพื้นที่พิเศษที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพื้นที่ประกอบพิธีกรรม และบทบาทของพื้นที่ดังกล่าว ในการเรียนรู้เพศวิถีร่วมกันของกลุ่มเกย์ ผ่านทางการจัดองค์ประกอบของพื้นที่ กิจกรรมที่กลุ่มเกย์ร่วมกันทำในเซานา และการเรียนรู้ภาษา (วัจนะภาษาและอวัจนะภาษา) ตลอดจนสัญญะต่างๆ ร่วมกัน
- งานวิจัยชิ้นนี้ปรับเปลี่ยนความเข้าใจของสังคมที่เกี่ยวกับกลุ่มเกย์และเพศวิถีของเกย์ ซึ่งมักจะจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องเพศเท่านั้น โดยชี้ให้เห็นการเมืองที่แฝงอยู่ในเพศวิถีของเกย์ การเข้าเซานาของกลุ่มเกย์จึงไม่เป็นไปเพื่อการแสวงหาความสำราญทางเพศอย่างเดียว แต่ยังเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมพลังและเพื่อสร้างเครือข่ายของกลุ่มเกย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเกย์ในโลกภายนอก
- การใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่องในงานวิจัยชิ้นนี้ เผยให้เห็นความหลากหลายและซับซ้อนภายในกลุ่มเกย์ ซึ่งเป็นชุมชนที่เกย์มีส่วนร่วมในการอ่าน ตีความ วิเคราะห์ ประสบการณ์ของตนเอง และให้คำนิยามแก่ตัวตนและเพศวิถีของตนจากมุมมองที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางชนชั้น อาชีพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น
๓.มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ทางวิชาการด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยทำการค้นคว้าหาข้อมูล โดยการลงพื้นที่ในเซานาและสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครื่องมือในการอ่าน วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลได้อย่างครอบคลุมตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างละเอียดลึกซึ้งและชัดเจน
- ใช้วิธีวิทยาแนวสตรีนิยม โดยเน้นวิธีวิทยาของกลุ่มสตรีนิยมนอกกระแสหลัก ดังที่ปรากฏในงานของ Patricia Hill Collins และ bell hooks ซึ่งให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงประสบการณ์เข้ากับทฤษฎี พื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ บุคคลกับชุมชน แนวทางดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ ที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของกลุ่มคนชายขอบ รวมถึงกลุ่มเกย์
- ส่งเสริมการสร้างชุมชนของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูล งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่สิ้นสุดที่การนำข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประมวลผลโดยผู้วิจัย เพื่อนำเสนอต่อสังคมภายนอก แต่ดำเนินต่อไปโดยให้ผู้วิจัยนำผลการศึกษาวิเคราะห์กลับไปให้กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ได้อ่าน และแสดงความคิดเห็นต่อผลการศึกษาวิเคราะห์ วิธีวิจัยดังกล่าวเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ (อันได้แก่เซบาสเตียนและเก๋ ผู้กลายเป็นผู้ร่วมงานของผู้วิจัย)
- เลือกใช้การนำเสนอแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา (autoethnography) เพื่อสอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัยในแนวสตรีนิยม โดยเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยซึ่งแสดงสถานภาพเกย์ควิงอย่างเปิดเผย และเป็นผู้ที่เรียนรู้เพศวิถีเกย์ผ่านประสบการณ์ในเซานา ได้มีส่วนในการแบ่งปันข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ และนำประสบการณ์ของตนมาวิเคราะห์ร่วมกันกับข้อมูลที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการศึกษากลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ และการศึกษาผู้ศึกษาไปพร้อมๆ กัน
0 Comments:
<< Home