Wednesday, November 28, 2007

การประกาศผลรางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ ๔ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙

โดยกลุ่มผู้มีคุณวุฒิฯ ทางการแสดง

โดยได้รับการสนับสนุนจากหอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากร และศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดโดยชมรมวรรณศิลป์ และชมรมภาพยนตร์ จุฬาฯ

เกียรติคุณสดุดีประจำปีนี้สำหรับ เพชรา เชาวราษฎร์ และ ท้วม ทรนง (ชูชีพ ช่ำชองยุทธ) ให้เกียรติประกาศโดย ผ.ศ. ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร และ อ.โดม สุขวงศ์ และรำลึกถึง สุพรรณ บูรณพิมพ์ และทานทัต วิภาตะโยธิน

ขอเชิญท่านผู้สนใจร่วมงาน พร้อมทั้งร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ “กวาดตามองการแสดงในหนังไทยในรอบปี ๔๙” กับ อ. ปวิตร มหาสารินันทน์, อ. ดังกมล ณ ป้อมเพชร, อ. ศศโสฬส จิตรวานิชกุล, เดวิด บุญทวี, เอื้ออุษา ทองสุข, เกรียงศักดิ์ เตชะเกรียงไกร, มานัสศักดิ์ ดอกไม้, รัตนาภรณ์ เหล่ายิ่งเจริญ (นิสิต ป.โท วรรณคดีเปรียบเทียบ), ธัญญานันต์ คูอนุพงศ์ (ประธานชมรมภาพยนตร์ จุฬาฯ), ชญานิน เตียงพิทยากร (สมาชิกชมรมภาพยนตร์ฯ) ดำเนินรายการโดย ภูมิ น้ำวล (ประธานชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ) และ จตุพร บุญ-หลง ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๒.๔๕ – ๑๕.๓๐ น. ณ ห้อง ๗๐๗ ชั้น ๗ อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ภาคเย็นวันเดียวกัน เชิญชมภาพยนตร์เรื่อง “ปราสาททราย” และ “แผลเก่า” เพื่อการสดุดี เพชรา เชาวราษฎร์ และท้วม ทรนง ตามลำดับ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป ที่โรงภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ท่าวาสุกรี
(โปรดแต่งกายสุภาพ เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ)

ผลรางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ ๔ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกาศเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ณ ห้อง ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และโรงภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ท่าวาสุกรี

เชิญอ่านรายละเอียดการตัดสิน และมุมมองต่อนักแสดงและทีมนักแสดงยอดเยี่ยมประจำปีได้ที่ www.thaifilm.com ใน forum หมายเลขกระทู้ C174 (โปรดพิมพ์ลงในช่อง search เพื่อค้นหา)

(รายชื่อนักแสดงและทีมนักแสดงดีเด่น รวมถึงนักแสดงผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณสดุดี ประจำปี ๒๕๔๙ ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ โรงภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ท่าวาสุกรี)

เกียรติคุณสดุดี (ให้เกียรติประกาศโดย อาจารย์โดม สุขวงศ์)
เพชรา เชาวราษฎร์ (ให้เกียรติอ่านคำสดุดีโดย จารุรัตน์ เทศลำใย เจ้าหน้าที่ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แทน ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ผู้มีภารกิจกะทันหัน),
ท้วม ทรนง หรือ ชูชีพ ช่ำชองยุทธ (ให้เกียรติอ่านคำสดุดีโดย อ.โดม สุขวงศ์)
และรำลึกถึง สุพรรณ บูรณพิมพ์ (ให้เกียรติอ่านคำสดุดีโดย อ.ดังกมล ณ ป้อมเพชร)
และทานทัต วิภาตะโยธิน (กล่าวสดุดีโดย จตุพร บุญ-หลง)

นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในบทนำ (ให้เกียรติประกาศโดย ภาณุ บุณยพรรค ผู้มีความเห็นว่าอยากให้ พลอย จินดาโชติ จากเรื่อง “กระสือวาเลนไทน์” ได้รับรางวัลนี้)
พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ จากเรื่อง “โคลิค เด็กเห็นผี”

นักแสดงหญิงดีเด่นในบทนำ (ให้เกียรติประกาศโดย คุณยุทธพร ประสานศรี)
ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ - “ศพ”
พลอย จินดาโชติ - “กระสือวาเลนไทน์”
รุ้งลาวัลย์ โทนะหงษา - “หนูหิ่น เดอะมูฟวี่”
วิสา สารสาส - “โคตรรักเอ็งเลย”

นักแสดงชายยอดเยี่ยมในบทนำ (ให้เกียรติประกาศโดย ยุทธพร ประสานศรี ผู้มีความเห็นตรงกับผู้ตัดสิน)
ทาดาโนบุ อาซาโน จากเรื่อง “อินวิซิเบิ้ลเวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร”

นักแสดงชายดีเด่นในบทนำ (ให้เกียรติประกาศโดย คุณคมสันต์ บุญญะวิตร)
กฤษฎา สุโกศล - “13 เกมสยอง”
ชาลี ไตรรัตน์ - “เด็กหอ”
ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ - “กระสือวาเลนไทน์”
ศิรชัช เจียรถาวร - “เด็กหอ”

นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในบทสมทบ (ให้เกียรติประกาศโดย ศรรกรา ระดมสุทธิศาล ผู้มีความเห็นว่าอยากให้ วิสาข์ คงคา จากเรื่อง “เปนชู้กับผี” ได้รับรางวัลนี้)
จินตหรา สุขพัฒน์ จากเรื่อง “เด็กหอ”

นักแสดงหญิงดีเด่นในบทสมทบ (ให้เกียรติประกาศโดย คุณคมสันต์ บุญญะวิตร)
ปรางทอง ชั่งธรรม - “อำมหิตพิศวาส”
วิสาข์ คงคา - “เปนชู้กับผี”
สุพรทิพย์ ช่วงรังษี - “เปนชู้กับผี”
อชิตะ สิกขมานา - “13 เกมสยอง”

นักแสดงชายยอดเยี่ยมในบทสมทบ (ให้เกียรติประกาศโดย ธัญญานันต์ คูอนุพงศ์ ผู้มีความเห็นว่าอยากให้ ธนบดินทร์ สุขเสรีทรัพย์ จากเรื่อง “เด็กหอ” ได้รับรางวัลนี้)
เค็น มิตสุอิชิ จากเรื่อง “อินวิซิเบิ้ลเวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร”

นักแสดงชายดีเด่นในบทสมทบ (ให้เกียรติประกาศโดย อาจารย์โดม สุขวงศ์)
จุมพล ทองตัน - “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย”
เจริญพร อ่อนละม้าย - “แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า”
ธนบดินทร์ สุขเสรีทรัพย์ - “เด็กหอ”
นิรุตติ์ ศิริจรรยา - “ศพ”

ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม (ให้เกียรติประกาศโดย มานัสศักดิ์ ดอกไม้ ผู้มีความเห็นว่าอยากให้ทีมนักแสดงจากเรื่อง “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” ได้รับรางวัลนี้)
ทีมนักแสดงจากเรื่อง “แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า”

ทีมนักแสดงดีเด่น (ให้เกียรติประกาศโดย คุณคมสันต์ บุญญะวิตร)
ทีมนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง “เด็กหอ”
ทีมนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย”
ทีมนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง “ศพ”
ทีมนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง “อินวิซิเบิ้ลเวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร”

ขอขอบคุณ
- หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากร
- ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชมวรรณศิลป์ ( www.cu-penclub.cjb.net/ ) และชมรมภาพยนตร์ จุฬาฯ
- สำนักงานจัดการอาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
- ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ (ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์) จุฬาฯ
- หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปรากูร บุญ-หลง, ปรุษร บุญ-หลง
- มูลนิธิหนังไทย
- รายการวิทยุแซทแอนด์ซัน (FM 90.5 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๒๑.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. / http://www.satnsun.com/ )
- นิตยสาร STARPICS
- นิตยสาร BIOSCOPE
- นิตยสาร เอนเตอร์เทน
- รายการวิทยุดูหนังฟังเพลง (FM 101 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา ๒๐.๓๐ – ๒๒.๐๐ น.)
- http://www.deknang.com/
- บริษัทผู้สร้าง/จัดจำหน่ายภาพยนตร์ และสื่อต่างๆ ที่กรุณาเผยแพร่กิจกรรม
- ผู้ชมทุกท่านที่ให้กำลังใจและการสนับสนุนด้วยดีตลอดมา

ขอขอบคุณคณะที่ปรึกษาฯ ของกลุ่มฯ (๒๕๕๐)

ในปีนี้กลุ่มผู้มีคุณวุฒิฯ ทางการแสดง ได้รับเกียรติจากคณาจารย์และบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ ในการร่วมเป็นคณะที่ปรึกษา ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งไว้ ณ ที่นี้

คณะที่ปรึกษาพิเศษ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร
- รองศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง
- อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จาตุรี ติงศภัทิย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์
- คุณศศิกาญจน์ เอี่ยมพรชัย
- อาจารย์กฤตยา อกนิษฐ์

คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ด้านการละคอน การแสดง
- อาจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์
- อาจารย์ดังกมล ณ ป้อมเพชร
- อาจารย์กุลธิดา มณีรัตน์
- อาจารย์อาทรี วณิชตระกูล
- อาจารย์จันทนา วงศ์ธนาศิริกุล
- อาจารย์ภาสกร อินทุมาร
- อาจารย์พันพัสสา ธูปเทียน
- อาจารย์ษัณปการ แสงจันทร์
( อาจารย์จันทนา วงศ์ธนาศิริกุล และอาจารย์ษัณปการ แสงจันทร์ ผู้เคยร่วมเป็นคณะกรรมการสมทบนั้น ผู้เขียนขอเชิญร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาฯ ด้านการละคอน การแสดง เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ทั้งสองท่านมีภารกิจ ไม่อาจให้ความเห็นเพื่อการดำเนินการตามหลักการที่แจ้งไว้ นับแต่ปีนี้ไปจึงไม่มีคณะกรรมการสมทบ)

เพิ่มแหล่งขอชม “ยิ้ม” - ความดีมีค่าเหนือความเก่ง

“ยิ้ม” ภาพยนตร์เพื่อการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความเชื่อมั่นและนิยมต่อปรัชญาที่ว่า ความดีมีค่าเหนือความเก่ง

ขณะนี้เพิ่มแหล่งขอชมที่ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ (ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ต. ศาลายา จ. นครปฐม และห้องสมุดประชาชนอำเภอพุทธมณฑล (สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์) ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม (ข้างที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล ตรงข้ามมหาวิทยาลัยมหิดล โทร. ๐-๒๘๘๙-๓๘๗๓) ที่สองแห่งแรก บุคคลภายนอกเสียค่าบำรุงคนละ ๒๐ บาท ส่วนสองแห่งหลังเชิญชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้วยความระลึกถึง รองศาสตราจารย์ นพพร ประชากุล

ผู้จากไปเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

ในฐานะที่ผู้เขียนมีโอกาสเรียนวิชาการวิเคราะห์และวิพากษ์งานศิลปะและวรรณกรรมจากอาจารย์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเห็นว่าไม่อาจจำกัดความสามารถในเชิงวิชาการของท่านไว้กับแนวคิดทฤษฎีใดโดยเฉพาะ แต่ควรกล่าวถึงท่านว่าเป็นผู้มีความสนใจด้านใดเป็นพิเศษ ตามมุมมองของผู้เขียนเห็นว่าท่านเป็นนักวิชาการผู้รอบรู้ และเห็นความสำคัญในการศึกษาปรากฏการณ์ในสังคมไทย โดยใช้แนวคิดที่มุ่งเน้นการวิพากษ์มาให้คำอธิบายและเสนอแง่มุมเพื่อการขบคิด ในทิศทางอันถือได้ว่าเป็นการเปิดขอบฟ้าของการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ท่านเป็นครูผู้ควรยึดถือเป็นแบบอย่างยิ่ง ในแต่ละครั้งที่ท่านสอน ผู้เขียนและเพื่อนร่วมชั้นตระหนักถึงพื้นความรู้อย่างดีของท่าน รวมถึงพลังและความทุ่มเทที่ท่านมุ่งถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ผู้เรียน คำอธิบายของท่านชัดเจน ละเอียด และแสดงการให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษาอย่างสูง โดยเฉพาะภาษาไทยซึ่งกลุ่มผู้เรียนต้องใช้ถ่ายทอดงานวิชาการ ความรู้ด้านภาษาฝรั่งเศสในระดับสูงของท่าน ส่งผลให้กลุ่มผู้เรียนได้รับความรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ร.ศ. นพพร ประชากุล มีความสำคัญต่อผู้เขียนในฐานะผู้เรียนวิชาสตรีศึกษา (WOMEN’S STUDIES) การฟังคำบรรยายของท่านในงานประชุมวิชาการด้านสตรีศึกษา ก่อนการสอบเข้าเรียนในสาขานี้ คือสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนยิ่งเพิ่มความมุ่งมั่นในการเข้าเรียน และท่านคืออาจารย์ผู้มาสอนในคาบเรียนแรก เทอมแรก เพื่อเกริ่นนำเกี่ยวกับแนวคิดนี้ และความสำคัญในการศึกษาแนวคิดนี้ โดยท่านออกตัวเสมอว่าท่านมิใช่ feminist

มีคำสำคัญทางวิชาการมากมายที่ผู้เขียนได้เริ่มเรียนรู้จากท่าน อาทิ สัญญะ และมายาคติ ซึ่งถือเป็นการให้เครื่องมือวิเศษแก่ผู้เขียน เพื่อใช้ทำความเข้าใจและอธิบายต่อปรากฎการณ์ กฎเกณฑ์ และค่านิยมทั้งหลายในสังคม ที่ตนเองเคยตั้งคำถามกับมันอย่างขัดเคืองใจ บทเรียนในชั้นเรียนสนุกสนาน และให้มุมมองจากการวิเคราะห์ รื้อสร้าง และวิพากษ์งานศิลปะ วรรณกรรม เช่น เนื้อร้องเพลงต่างๆ ของวงสุนทราภรณ์ และนวนิยายยอดนิยมตลอดกาล เช่นเรื่องบ้านทรายทอง ซึ่งชี้ชัดให้ผู้ศึกษาเกิดมุมมองในมิติเร้นลึกในทางที่แตกต่างไปตลอดกาล สมุดจดคำบรรยายวิชาของท่าน มีส่วนสำคัญยิ่งที่นำผู้เขียนก้าวมาถึงชั้นการศึกษาในปัจจุบัน

ร่างและการปรากฏกายของท่านเท่านั้นที่ไม่มีอยู่แล้วในโลกนี้ และผู้เขียนก็เป็นเพียงผู้พยายามแสวงหาโอกาสอันดีในการเล่าเรียนกับท่าน การกล่าวถึงตนเองว่าเป็นศิษย์ของท่านนั้น คือสิ่งที่ผู้เขียนไม่กล้ากล่าวอย่างเต็มปาก

ขอคุณพระรัตนตรัยโปรดนำดวงวิญญาณของอาจารย์ไปสู่สุคติ

สิ่งที่ผู้เขียนเป็นห่วงอาจารย์ตลอดมาคือการสูบบุหรี่อย่างหนัก และคิดว่ามันคือเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านต้องจากไปเช่นนี้ คุณปู่ของผู้เขียนคือผู้ได้รับความทรมานก่อนจากไปเพราะบุหรี่เช่นกัน ใครอยากเผชิญความเจ็บป่วยอย่างพวกท่าน ก็เชิญสูบบุหรี่กันเข้าไป ผู้เขียนในฐานะคนที่จำต้องสูดมัน ต้องหาเวลาออกกำลังกายให้ปอดต้านพิษมันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขอร่วมแสดงความยินดีต่อสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มธ.

สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๐ และนางสาวดรุณี ศุภวรรณ อดีตบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๑๓ ได้รับเลือกให้เป็นอาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๐

ในฐานะที่ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาสาขาสตรีศึกษา เมื่อครั้งที่หลักสูตรนี้เคยอยู่ในสังกัดการบริหารงานของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนจึงขอเสนอข่าวนี้ เพื่อร่วมแสดงความยินดีต่อสำนักฯ รวมทั้งคุณดรุณี ศุภวรรณ ไว้ ณ ที่นี้

สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการให้การศึกษา อบรม ฝึกฝน การให้บริการ แก่ชุมชน และสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับท้องถิ่นชนบทให้แก่บัณฑิตไทยที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชา และ ทุกสถาบัน โดยจัดส่ง “บัณฑิต” ออกไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวชนบท เพื่อเรียนรู้และหาประสบการณ์จากสภาพความเป็นจริงในการดำรงชีวิต ของประชาชนในท้องถิ่นชนบท นอกจากนี้ ยังบริการความรู้แก่สังคม ได้แก่ จัดทำศูนย์ข้อมูลหมู่บ้านชนบทไทย จัดโครงการอบรมระยะสั้น เกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่นชนบทแก่บุคคล และหน่วยงานที่สนใจงานด้านการพัฒนาชนบท จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท และจัดโครงการสัมผัสชนบทแก่นักศึกษาในภาคฤดูร้อน เป็นต้น

สำหรับ นางสาวดรุณี ศุภวรรณ อดีตบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ๒ เริ่มปฏิบัติงานอาสาสมัครตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ ในฐานะบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นครูอาสาที่โรงเรียนแม่จันวิทยาคม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และได้อุทิศตนทำประโยชน์ให้แก่สังคม มากมาย อาทิ ปี ๒๕๒๑-๒๕๒๓ เป็นอาสาสมัครโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ปี ๒๕๒๓-๒๕๒๕ เป็นอาสาสมัคร สหประชาชาติ (UNV-DDS) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครระหว่างประเทศ โดยเป็นตัวแทนประเทศไทยไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศศรีลังกา ปี ๒๕๒๕-๒๕๓๓ เป็นเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาหมู่บ้านชายแดน จังหวัดสุรินทร์ และโครงการพัฒนาสตรี ปฏิบัติงาน ด้านเผยแพร่ความรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางเลือกแก่สตรีในชนบท เป็นต้น ปัจจุบัน นางสาวดรุณี ศุภวรรณ ทำงานในฐานะ “นักพัฒนาอิสระ” โดยเสนอตัวเข้าช่วยเหลือให้ความรู้และคำแนะนำ เรื่อง เทคโนโลยีทางเลือกแก่ชุมชน

ฟื้นฟู-ทบทวนภาษาเยอรมันเบื้องต้น (ครั้งที่ ๔)

cardinal numbers : 21 - 99
ให้นำ 1 - ein (โปรดสังเกตว่าไม่เติม s), 2 – zwei, 3 - drei, 4 - vier, 5 -fu[..]nf, 6 - sechs, 7 - sieben, 8 - acht, 9 – neun เชื่อมด้วยคำว่า und เข้ากับ 20 – zwanzig, 30 – dreissig, 40 – vierzig, 50 – fu[..]nfzig, 60 – sechzig, 70 – siebzig, 80 – achtzig, 90 – neunzig
ตัวอย่าง 21 เขียนเป็นคำอ่านได้ว่า einundzwanzig

ordinal numbers : 1st – 10th
{รูปแบบคือ cardinal + t + ending ตัวอย่างเช่น die zweite (zwei+t+e) Tasse ความหมายคือ the second cup}
erst- {+ending}, zweit-, dritt-, viert-, fu[..]nft-, sechst-, siebt- (หรือ siebent- แต่ไม่นิยมใช้), acht-, neunt-, zehnt-

ordinal numbers : 11th – 99th
รูปแบบคือ เติม -t- เข้ากับ cardinal และ ending (ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท) สำหรับเลขลำดับที่ 11 ถึง 19 (elf bis neunzehn)
และเติม -st- เข้ากับ cardinal และ ending (ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท) สำหรับเลขลำดับที่ 20 ถึง 99 (zwanzig bis neunundneunzig)

ราคา
DM 1,20 (หน่วยเงินของเยอรมนีคือ Mark ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ หน่วยรองลงมาคือ Pfennig เมื่อมีทั้งสองหน่วย เขียนโดยใช้ comma คั่น) จากตัวอย่าง อ่านว่า eine Mark zwanzig (Mark เป็น feminine noun)
แต่ DM 21,00 อ่านว่า einundzwanzig Mark
และ DM 21,21 อ่านว่า einundzwanzig Mark einundzwanzig (Pfenning)


ทบทวนการผันคำกริยา
werden ความหมายคือ to become, get {intransitive}

INDICATIVE
Present
ich werde
du wirst
er/sie/es wird
wir werden
ihr werdet
Sie/sie werden

PARTICIPLES
werden
geworden

IMPERATIVE
werde! werdet!
werden Sie! werden wir!

Friday, November 02, 2007

โปรแกรมภาพยนตร์สโมสร หอภาพยนตร์แห่งชาติ

กิจกรรมการฉายภาพยนตร์และเสวนา ที่เคยจัด ณ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ท่าวาสุกรี ทุกวันศุกร์ เวลา ๑๘.๐๐ น. ขณะนี้ไม่มีการกำหนดโปรแกรมแน่นอน
โปรดติดตามโปรแกรมที่ http://www.nfat.org/

หอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา ถ.พุทธมณฑล สาย ๕ จ.นครปฐม
ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (หากวันเสาร์ใดตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดเทศกาล โปรดสอบถามที่เบอร์โทรศัพท์ด้านล่างก่อน)
เชิญชมพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย หนังข่าว หนังสารคดี หนังสั้น ไม่ซ้ำเรื่องในแต่ละสัปดาห์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม (และเตรียมพบกับโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา เร็วๆ นี้)
รถเมล์ที่ผ่าน สาย ปอ.๕๑๕ (ต้นสายอนุสาวรีย์ชัยฯ) ปอ.๕๔๗ (ต้นสายสวนลุมพินี) ผ่านหน้าหอภาพยนตร์, สาย ๑๒๔ (ต้นสายวิทยาลัยนาฏศิลป์) ลงสุดสายแล้วเดินทอดน่องต่ออีกประมาณ ๒๐ นาที, สาย ๑๒๕ (ต้นสายสถานีรถไฟบางซื่อ) ลงบริเวณอู่สาย ๑๒๔

และเชิญชมรายการภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ ที่พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ท่าเตียน
ตามรายละเอียดใน http://www.thaifilm.com/ ที่หัวข้อ News

ภาพยนตร์ต่างประเทศอาจพากย์ไทย และโปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐-๒๔๘๒-๒๐๑๓ – ๕

ขอเชิญร่วมกันสนับสนุนให้หอภาพยนตร์แห่งชาติพัฒนาเป็นองค์กรมหาชน เพื่อสร้างศักยภาพและการดำเนินการอันก่อประโยชน์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นแก่สังคมในด้านการภาพยนตร์

ฟื้นฟู-ทบทวนภาษาเยอรมันเบื้องต้น (ครั้งที่ ๓)

ทบทวนการผันคำกริยา
wollen ความหมายคือ to want, wish {intransitive (transitive)}

INDICATIVE
Present
ich will
du willst
er/sie/es will
wir wollen
ihr wollt
Sie/sie wollen
PARTICIPLES
wollend
gewollt

IMPERATIVE
will! wollt!
wollen Sie! wollen wir!