Tuesday, February 05, 2008

ร่วมไว้อาลัยแด่ พิเศษ สังข์สุวรรณ

อาจารย์กฤตยา (นาฑี) อกนิษฐ์ หรือพี่นุ้ย เพื่อนผู้ถือเป็นอาจารย์ที่เคารพรักคนหนึ่งของผู้เขียน ส่งข้อความที่ได้รับจากกลุ่มเพื่อนชาวโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนโดยคุณวีรศักดิ์ เกิดดี (โบราณคดี รุ่น ๔๓) เกี่ยวกับคุณพิเศษ สังข์สุวรรณ บุคลากรคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์ไทย ผู้สร้างสรรค์ผลงานมากมายที่น่าจดจำ รวมถึงงานด้านการแสดง เมื่อไม่นานนี้ คุณพิเศษล้มป่วยหนักจนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเสียชีวิตในที่สุด

ผู้เขียนขอร่วมไว้อาลัยแด่คุณพิเศษ สังข์สุวรรณ รวมทั้งเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับคุณพิเศษในเว็บไซต์ตามข่าวที่ได้รับจากพี่นุ้ย คือ www.pisetsungsuwan.blogspot.com/2008/01/blog-post_9860.html ซึ่งญาติจัดทำขึ้น และในเว็บไซต์ www.th.wikipedia.org/wiki/พิเศษ_สังข์สุวรรณ ซึ่งกล่าวถึงประวัติและผลงานของคุณพิเศษ

เชียร์ออสการ์ ๒๐๐๗

- ภาพยนตร์ : NO COUNTRY FOR OLD MEN
- ผู้กำกับ : Julian Schnabel จากเรื่อง THE DIVING BELL AND THE BUTTERFLY
- นักแสดงหญิงในบทนำ : Julie Christie จากเรื่อง AWAY FROM HER เพื่อเชิดชูความคิดที่ว่า ความแก่ ความงาม ฝีมือความสามารถ และความมีประสบการณ์ ย่อมดำเนินไปด้วยกันได้ ผู้เขียนเซ็งต่อค่านิยมของบรรดาคนที่มองคนว่าแก่แล้วก็แก่ไป ไร้คุณค่า ตกยุค หมดสมัย หมดเวลา จงอยู่ไปเสียกับความเหี่ยวเฉา เนื่องด้วยเพราะตัวผู้เขียนเองไม่ฝังค่านิยมแบบนี้ไว้ในหัวมาแต่ไหนแต่ไร และเป็นส่วนสำคัญที่ไม่เคยทำให้ตัวเองดูถูกความแก่ ความงั่ก และเห็นเคล็ดสำคัญในการคงความเยาว์ไว้ได้ตลอดกาล ในเบื้องต้น คนผู้มีวัยสูงกว่าควรได้รับการนับถือ เว้นแต่ว่าคนๆ นั้นมีระบบความคิดและค่านิยมที่ไม่น่านับถือ ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
และเมื่อเห็นความสำเร็จอีกครั้งในสาขานี้ของ Cate Blanchett ผู้ได้รับการเสนอชื่อจากบทที่เคยแสดงไว้ใน ELIZABETH ทำให้ผู้เขียนนึกถึงผู้ได้รับรางวัลในปีนั้นคือ Gwyneth Paltrow จากเรื่อง SHAKESPEARE IN LOVE ในขณะที่เสียงวิจารณ์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรางวัลที่ Paltrow ได้รับในปีนั้น ซึ่งคะแนนจากการโหวตของกรรมการย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงการเมืองที่ว่า บิดามารดาของ Paltrow เป็นบุคคลในวงการฮอลลีวู้ดผู้ได้รับความนับถือในวงกว้าง อีกทั้ง Paltrow ยังเป็นชาวอเมริกัน ผู้เขียนก็เห็นว่า Paltrow เหมาะสมแก่รางวัล บทที่ Blanchett เข้าชิง เป็นบทยาก และ Blanchett ก็แสดงได้อย่างสะกดอารมณ์ แต่ผู้เขียนเห็นว่าบทที่ Paltrow ได้รับซึ่งเป็นบทแบบดูธรรมดาๆ นั้น มีรายละเอียดหลายส่วนที่แสดงยากกว่า และ Paltrow ถ่ายทอดความเป็นตัวละคอนอย่างกลมกลืนและน่าจดจำ สร้างตัวละคอนที่บทต้องการอย่างเกิดผลมาก
- นักแสดงหญิงในบทสมทบ : Saoirse Ronan จากเรื่อง ATONEMENT
- นักแสดงชายในบทนำ : George Clooney จากเรื่อง MICHAEL CLAYTON
- นักแสดงชายในบทสมทบ : Javier Badem จากเรื่อง NO COUNTRY FOR OLD MEN

ภาพยนตร์และนักแสดงที่ผู้เขียนประทับใจในรอบปี ๒๕๕๐

ขอขอบคุณผู้อ่านผู้ชมทุกท่าน ที่กรุณาติดตามข้อเขียนเรื่องนี้ของผู้เขียนมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพยนตร์ประทับใจ
- LA VIE EN ROSE (กำกับ – Olivier Dahan/ ๒๐๐๗/ เทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศส-กรุงเทพ/ เดือนมิถุนายน) ผู้เขียนเกือบไม่ไปดูหนังเรื่องนี้ซึ่งฉายเพียงรอบเดียวในเทศกาล เพราะไม่คุ้นหูชื่อและชื่อเสียงของ Edith Piaf (๑๙๑๕ – ๑๙๖๓) แต่นับว่าตัวเองโชคดีที่ตัดสินใจไปดูในที่สุด เมื่อไปดูจึงรู้ว่าคุ้นกับเพลง Non, je ne regrette rien ซึ่งเคยฟังมาโดยไม่รู้จักชื่อเพลงนี้ และไม่รู้ว่า Piaf เคยเป็นผู้ร้อง การแสดงของ Marion Cotillard ในบท Piaf สะกดความรู้สึกสุดๆ และสมควรอย่างยิ่งแก่การเข้าชิงรางวัลออสการ์
- ORCHESTRA SEATS (กำกับ – Daniele Thompson/ ๒๐๐๖/ เทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศส-กรุงเทพ) หากไม่นับบรรยากาศในหนัง เหตุผลสำคัญที่ชอบก็คือกลุ่มผู้แสดงนำชายในเรื่องนี้หล่อและดูมีเสน่ห์มาก
- 4 MONTHS, 3 WEEKS AND 2 DAYS (โรมาเนีย/ กำกับ – Cristian Mangui/ ๒๐๐๗/ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ/ เดือนกรกฎาคม - ขอขอบคุณพี่แน็ต – ศศิกาญจน์ เอี่ยมพรชัย ผู้กรุณาให้บัตรดูหนังตลอดเทศกาลนี้แก่ผู้เขียน นับเป็นทุนการศึกษาอย่างหนึ่ง ในทางที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องศิลปะและดนตรี) การกำกับ บท การกำกับภาพ การลำดับภาพ และการแสดงน่าประทับใจ เป็นหนังเรื่องหนึ่งที่มีฉากจบทรงพลังมากสำหรับผู้เขียน หนังมีแง่มุมในเชิงสตรีนิยมที่กระทบความรู้สึกและชวนวิพากษ์ ได้แก่ประเด็นเกี่ยวกับสภาพของผู้หญิงผู้ตกอยู่ในภาวะซึ่งไม่อาจพูดได้ และประเด็น sisterhood
- MYSTERIOUS SKIN (กำกับ - Gregg Araki/ ๒๐๐๔ /เทศกาลหนัง 28 Days/ เดือนสิงหาคม) เรื่องราวถูกใจ
- LUST, CAUTION (กำกับ – Ang Lee/ ๒๐๐๗) ในหนังเรื่องนี้เห็นได้ว่าใช้ผู้หญิงเป็นเครื่องมือในการต่อรองเรื่องอำนาจ และการถูกครอบงำทางเพศวิถีของชาย ผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ถูกใช้แบบ...สุดๆ แต่ส่วนที่ทำให้ประทับใจก็คือการกำกับของ Lee และการแสดงของเหลียงเฉาเหว่ย การดูฉากอีโรติกทั้งหลายของเขาในเรื่องนี้ (ซึ่งเมื่อนั่งดูถึงช่วงเครดิตท้ายเรื่อง ก็อ่านเห็นชื่อผู้แสดงแทนเขาและผู้แสดงนำหญิง จึงคิดว่าภาพเปลือยที่เห็นไม่น่าจะใช่สรีระของนักแสดงนำทั้งคู่ทุกฉาก) และเมื่อนึกถึงฉากอีโรติกในเรื่อง HAPPY TOGETHER ก็ทำให้เห็นการสวมบทบาทที่หลากหลายของนักแสดงผู้นี้ ในบทบาทแบบไบเซ็กช่วล ผู้เขียนรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้ดูหนังฉบับศิลปะแบบไม่ตัด แต่สิ่งที่น่าคิดด้วยในขณะเดียวกันก็คือคนขายตั๋วจะขายบัตรให้คนดูทุกวัยหรือไม่ สำหรับผู้เขียนแล้ว ตนเองเดินเข้าไปซื้อหนังแนวอีโรติกสุดขีดแบบชายชายมาดูได้อย่างไม่อายคนขาย แต่ถ้ามีคนขอยืมหนังนั้นไปดู หรือถ้าตนเองเป็นคนขาย ก็ต้องพิจารณาคนมาขอยืมหรือคนซื้อก่อน ว่าควรให้ยืมหรือขายให้หรือไม่

ภาพยนตร์ที่สมควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ
- “หนองบัวแดง” (กำกับ – ส.อาสนจินดา/ รายการภาพยนตร์สโมสร/ เดือนกันยายน)

นักแสดงที่ประทับใจ
- Ringo Kikuchi จากเรื่อง BABEL
- Ziyi Zhang จากเรื่อง MEMOIRS OF A GEISHA (ดูในเทศกาลภาพยนตร์ 28 Days)
- Kate Winslet จากเรื่อง LITTLE CHILDREN
- Natalie Portman จากเรื่อง CLOSER (ดูในเทศกาลภาพยนตร์ 28 Days)
- Joseph Gordon-Levitt จากเรื่อง MYSTERIOUS SKIN

ฟื้นฟู-ทบทวนภาษาเยอรมันเบื้องต้น (ครั้งที่ ๖)

การอ่านปีปฏิทิน
the year - das Jahr (รูปเอกพจน์)
die Jahre (รูปพหูพจน์)
[เขียนรวบรูปทั้งสองของคำศัพท์คำนี้ เพื่อช่วยการจำได้ดังนี้ s Jahr, - e ]

การอ่านปีตามปฏิทินในภาษาเยอรมัน อ่านแบบเดียวกับภาษาอังกฤษ คืออ่านจากหลักร้อยในเบื้องแรก
เฉลยเลขปีปฏิทิน
- achtzehnhunderteinundsiebzig : 1871
- neunzehnhundertneunzehn : 1919
- fu[..]nfzehnhundertvierundsechzig : 1564
- vierzehnhundertzweiundneunzig : 1492
- achtzehnhundertsiebenundsechzig : 1867
- achtzehnhundertvierundneunzig : 1894
- sechzehnhundertzweiunddreissig : 1632
- siebzehnhundertsechsundsiebzig : 1776
- (ein)tausendsechsundsechzig : 1066
- zweitausendundeins : 2001


การบอกเวลา

eine Stunde = an hour , zwei Stunden = two hours [e Stunde, - n]
eine Minute = a minute , zwei Minuten = two minutes [e Minute, - n]
eine Sekunde = a second , zwei Sekunden = two seconds [e Sekunde, - n]

การบอกเวลาในภาษาเยอรมัน เป็นเช่นเดียวกับในภาษาอังกฤษ เว้นแต่ส่วนที่ต่างคือ ‘half past the hour’ ในภาษาเยอรมันการบอกส่วนครึ่งของชั่วโมง มิได้เป็นไปในทางที่ว่าส่วนครึ่งชั่วโมงนั้นคือช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว แต่เป็นช่วงเวลาที่จะถึงในชั่วโมงข้างหน้า (halb = half)
เช่น halb drei มิได้หมายถึง half (past) three แต่หมายถึง half to three

ในเบื้องแรกขอกล่าวถึงการบอกเวลาในภาษาเยอรมันตามบริบทดังกล่าวก่อน

ตัวอย่างประโยคเกี่ยวกับเรื่องชั่วโมง, นาที, วินาที
- 1 Stunde hat 60 Minuten. / Eine Stunde hat sechzig Minuten.
- 1 Stunde hat 3600 Sekunden. / Eine Stunde hat dreitausendsechshundert Sekunden.
- 1 ½ Stunden haben 90 Minuten. / Eineinhalb Stunden haben neunzig Minuten.
- 1 ½ Stunden haben 4400 Sekunden. / Eineinhalb Stunden haben viertausendvierhundert Sekunden.
- 2 ½ Stunden haben 150 Minuten. / Zweieinhalb Stunden haben hundertfu[..]nfzig Minuten.

ทบทวนการผันคำกริยา
wu[..]nschen ความหมายคือ to wish {transitive (reflexive)}

INDICATIVE
Present
ich wu[..]nsche
du wu[..]nschst
er/sie/es wu[..]nscht
wir wu[..]nschen
ihr wu[..]nscht
Sie/sie wu[..]nschen
Pluperfect
Sie/sie hatten gewu[..]nscht


PARTICIPLES
wu[..]nschend
gewu[..]nscht